Category Archives: ธรรมะจากพระไตรปิฎก

สังฆาฏิสูตร : เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

สังฆาฏิสูตร : เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าแม้ภิกษุจับที่ชายสังฆาฏิแล้ว
พึงเป็นผู้ติดตามไปข้างหลังๆ เดินไปตามรอยเท้าของเราอยู่ไซร้

แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีอภิชฌาเป็นปรกติ
มีความกำหนัดแรงกล้าในกามทั้งหลาย
มีจิตพยาบาท มีความดำริ แห่งใจชั่วร้าย
มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว
มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด
ไม่สำรวมอินทรีย์

โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว
และเราก็อยู่ห่างไกลภิกษุนั้น

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรม
เมื่อไม่เห็นธรรมย่อมชื่อว่าไม่เห็นเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าแม้ภิกษุนั้นพึงอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ไซร้
แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา
ไม่มีความกำหนัดอันแรงกล้าในกามทั้งหลาย
ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย
มีสติมั่น รู้สึกตัว มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว
สำรวมอินทรีย์

โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ใกล้ชิดเราทีเดียว
และเราก็อยู่ใกล้ชิดภิกษุนั้น

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นย่อมเห็นธรรม
เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา

บุคคลผู้มักมาก มีความคับแค้น ยังเป็นไปตามตัณหา ดับความเร่าร้อนไม่ได้ แม้หากว่าพึงเป็นผู้ติดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้หาความหวั่นไหวมิได้

ผู้ดับความเร่าร้อนได้แล้วไซร้ บุคคลนั้นผู้กำหนัดยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี เพียงในที่ไกลเท่านั้น ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต รู้ธรรมด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ธรรมอันยิ่ง เป็นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ สงบระงับ เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ไม่มีลมฉะนั้น บุคคลนั้นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ทั้งดับความเร่าร้อนได้แล้ว ผู้ไม่กำหนัดยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ทั้งดับความเร่าร้อนได้แล้ว ปราศจากความกำหนัดยินดี ในที่ใกล้แท้

สิ่งใดเป็นกิจต้องทำ

ยมุหิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ อกิจฺจํ ปน กรียติ
อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ เตสํ วฑฺฒนุติ อาสวา

สิ่งใดเป็นกิจของตนซึ่งต้องทำ กลับทอดทิ้งสิ่งนั้นเสีย ไปทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่
คนเหล่านั้นเป็นผู้ประมาทเชิดชูตนด้วยมานะ อาสวะ (กิเลส) ของพวกเขาย่อมเจริญขึ้นพอกพูนขึ้น

พุทธสุภาษิต

เรามีความตายเป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า “เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความตายไปได้”

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย “ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ” เมื่อเขาพิจารณาฐานะ นั้นอยู่เนืองๆ ย่อม “ละความมัวเมาในชีวิตนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้”

*ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า “เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้”

ฐานะสูตร >> อ่านเพิ่มเติม

ทำความเพียรเสียในวันนี้

พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผลัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย

พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแล ว่าผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ

จาก ภัทเทกรัตตสูตร

กรรมอันไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน คนทำง่าย

สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ
ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.

กรรมอันไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน คนทำง่าย
กรรมใดแลเป็นประโยชน์แก่ตนและดี กรรมนั้นแล ทำยากอย่างยิ่ง.

กรรมเหล่าใดไม่ดี คือมีโทษและเป็นไปเพื่ออบาย ชื่อว่าไม่เป็นประโยชน์แก่ตนเพราะทำนั่นแล กรรมเหล่านั้นทำง่าย ฝ่ายกรรมใด ชื่อว่าเป็นประโยชน์แก่ตนเพราะทำ และชื่อว่าดี ด้วยอรรถว่าหาโทษมิได้ คือเป็นไปเพื่อสุคติ และเป็นไปเพื่อพระนิพพาน กรรมนั้นทำแสนยาก ราวกับทดน้ำแม่คงคาอันไหลไปทิศตะวันออก ทำให้ไหลกลับฉะนั้น

อรรถกถา ขุททกนิกาย
คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน บุคคลอื่นใครเล่าพึงเป็นที่พึ่งได้
เพราะบุคคล มีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่ง อันบุคคลได้โดยยาก.

บุคคลตั้งอยู่ในตน คือสมบูรณ์แล้วด้วยตน สามารถจะทำกุศลแล้วถึงสวรรค์ หรือเพื่อยังมรรคให้เจริญ หรือทำให้แจ้งซึ่งผลได้ เพราะเหตุนั้นแหละ ตนแลพึงเป็นที่พึ่งของตน. คนอื่นใครเล่า? พึงเป็นที่พึ่งของใครได้ เพราะบุคคลมีตนฝึกดีแล้ว คือมีความเสพผิดออกแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งบุคคลได้โดยยาก

กล่าวคือพระอรหัตผล. คำว่า “นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ” นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพระอรหัต

อรรถกถา ขุททกนิกาย
คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒

นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ

เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่
การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้น

ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด
ทุกข์ย่อมตั้งอยู่และเสื่อมสิ้นไป
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ

วชิราภิกษุณี ภิกษุณีสังยุต

อานันทสูตร : การฟังธรรมที่ไม่หลงลืม

ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๐ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
๐ เธอย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
๐ ย่อมบอกสอนธรรมที่ได้ฟังมาได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
๐ ย่อมทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ ฟังมาได้เรียนมาโดยพิสดาร
๐ ย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมา
๐ ย่อมจำพรรษาอยู่ในอาวาสที่มีภิกษุผู้เถระเป็นพหูสูตชำนาญคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา อยู่ ย่อมเข้าไปหาภิกษุผู้เถระเหล่านั้นโดยกาล อันควร แล้วไต่ถามสอบสวนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของภาษิตนี้อย่างไร ภิกษุผู้เถระเหล่านั้นย่อมเปิดเผยภาษิตที่ยังไม่แจ่มแจ้ง ย่อมทำภาษิตที่ยากให้ง่ายแก่เธอ และย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีประการต่างๆ

ดูกรท่านสารีบุตร ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงได้ฟังธรรมที่ยังไม่เคยฟัง ธรรมทั้งหลายที่เธอได้ฟังแล้วย่อมไม่ถึงความหลงลืม ธรรมทั้งหลายที่เธอได้เคยถูกต้องด้วยใจในกาลก่อน ย่อมขึ้นใจ และเธอย่อมทราบชัดธรรมที่ยังไม่ทราบชัด ฯ

อ่านเพิ่มเติม คลิก >>> อานันทสูตร

จงเป็นผู้ไม่ประมาท

วัยของเรา แก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราเป็นของน้อย เราจักละพวกเธอไป เรากระทำที่พึ่งแก่ตนแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล อันดีเถิด จงเป็นผู้มีความดำริตั้งมั่นดีแล้ว ตามรักษาจิตของตนเถิด ผู้ใด จักเป็นผู้ไม่ประมาท อยู่ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจักละชาติสงสารแล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

จากมหาปรินิพพานสูตร

เป็นดุจดวงจันทร์

ดวงจันทร์โคจรอยู่บนท้องฟ้า ไม่ทำความคุ้นเคย ความเยื่อใย ความรักใคร่ ความปรารถนาหรือความพยายามกับใคร. แต่จะไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของมหาชนก็หามิได้ฉันใด.

แม้พวกเธอก็เป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก เพราะไม่ทำความคุ้นเคยเป็นต้นกับใคร เป็นดุจดวงจันทร์ เข้าไปสู่ตระกูล ๔ มีตระกูลกษัตริย์เป็นต้นฉันนั้น.

จากอรรถกถา จันทูปมสูตร

บุคคล ๔ จำพวก : ฟ้าร้อง ฝนตก

บุคคล ๔ จำพวก

๐ บุคคลเหมือนฟ้าร้องฝนไม่ตก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พูดแต่ไม่ทำ อย่างนี้เป็นคนเหมือนฟ้าร้องฝนไม่ตก ฟ้านั้นร้องแต่ฝนไม่ตก แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น

๐บุคคลเหมือนฝนตกฟ้าไม่ร้อง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทำแต่ไม่พูด อย่างนี้เป็นคนเหมือนฝนตกฟ้าไม่ร้อง ฝนตกฟ้าไม่ร้องแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น

๐บุคคลเหมือนฟ้าร้องฝนตก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พูดด้วยทำด้วย อย่างนี้เป็นคนเหมือนฟ้าร้องฝนตก ฟ้าร้องฝนตกแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น

๐ บุคคลเหมือนฟ้าไม่ร้องฝนไม่ตก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่พูดไม่ทำ อย่างนี้เป็นคนเหมือนฟ้าไม่ร้องฝนไม่ตก ฟ้าไม่ร้องฝนไม่ตกแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
พระอภิธรรมปิฎก
ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

ไม่กล่าวเท็จแม้เพราะใคร่จะเล่น

ผู้กล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่จะไม่ทำบาปไม่มี
ฉะนั้นเธอพึงศึกษาว่า

เราจักไม่กล่าวเท็จ
แม้เพราะหัวเราะ
แม้เพราะใคร่จะเล่น

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
จูฬราหุโลวาทสูตร

บุคคลไม่พึงแลดูกิจของชนอื่น

บุคคลไม่พึงใส่ใจคำแสลงหูของชนเหล่าอื่น
ไม่พึงแลดูกิจที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำของชนเหล่าอื่น

พึงพิจารณากิจที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำของตนเท่านั้น

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
คาถาธรรมบท
ปุปผวรรค

พาลวรรค : ผู้ใดเป็นพาล

ผู้ใดเป็นพาลย่อมสำคัญความที่ตนเป็นพาลได้
ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง

ส่วนผู้ใดเป็นพาลมีความสำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต
ผู้นั้นแลเรากล่าวว่าเป็นพาล

ถ้าคนพาลเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ตลอดชีวิต
เขาย่อมไม่รู้แจ้งธรรม เหมือนทัพพีไม่รู้จักรสแกง ฉะนั้น

ถ้าว่าวิญญูชนเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ครู่หนึ่ง
ท่านย่อมรู้ธรรมได้ฉับพลัน เหมือนลิ้นรู้รสแกงฉะนั้น…

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
จากคาถาธรรมบท
พาลวรรค

สัทธาสูตร : ว่าด้วยศรัทธาของพระอริยสาวก

อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใส ในตถาคตอริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต

ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
สัทธาสูตร
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
อ่านเพิ่มเติม >> คลิก สัทธาสูตร

ที่พึ่งอันเกษม

มนุษย์เป็นอันมากแล ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขา ป่าอารามและรุกขเจดีย์ว่า เป็นที่พึ่ง ที่พึ่งนั้นแลไม่เกษม ที่พึ่งนั้นไม่อุดม เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

ส่วนผู้ใดถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ความก้าวล่วงทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อันให้ถึงความสงบระงับทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ ที่พึ่งนั้นแลเป็นที่พึ่งอันเกษม ที่พึ่งนั้นอุดม เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้นย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
ขุททกนิกาย
คาถาธรรมบท พุทธวรรค

ทางให้พบสิ่งอันเป็นสาระ

ทางให้พบสิ่งอันเป็นสาระ
จากหนังสือ ธรรมบท ทางแห่งความดี เล่ม ๑
โดย… อาจารย์วศิน อินทสระ

พุทธภาษิต
อสาเร สารมติโน สาเร จ อสารทสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา
สารญฺจ สารโต ญตฺวา อสารญฺจ อสารโต
เต สารํ อธิคจฺฉนฺติ สมฺมาสงฺกปฺปโคจรา

คำแปล
บุคคลใดเห็นสิ่งอันไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งอันเป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ บุคคลนั้น มีความดำริผิดประจำใจ ย่อมไม่อาจพบสาระได้

ส่วนบุคคลใดเห็นสิ่งอันเป็นสาระว่าเป็นสาระ สิ่งอันไม่เป็นสาระว่า ไม่เป็นสาระ บุคคลนั้นมีความดำริถูกประจำใจ ย่อมสามารถพบสิ่งอันเป็นสาระ

อธิบายความ

หากจะตั้งปัญหาถามก่อนว่า อะไรคือทางให้พบสาระ? ก็ตอบโดยอาศัยพระพุทธภาษิตนี้เป็นหลักว่า สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบเห็นถูก อธิบายว่า ความเห็นชอบย่อมนำไปสู่การกระทำชอบและพูดชอบ ตลอดถึงความพยายามชอบ

มิจฉาทิฏฐิเป็นยอดโทษฉันใด สัมมาทิฏฐิก็เป็นยอดคุณฉันนั้น

บุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิประจำใจจึงเหมือนมีกุญแจไขเข้าไปในห้วงอันเต็มไปด้วยสาระ ส่วนคนมีมิจฉาทิฏฐิประจำใจ หาเป็นเช่นนั้นไม่ มีแต่จะเดินเข้ารกเข้าพง นำชีวิตไปสู่ความล่มจมล้มเหลว

เปรียบด้วยเรือ สัมมาทิฏฐิก็เป็นหางเสือให้เรือแล่นไปในทางอันถูกต้อง หลีกหินโสโครกและอันตรายต่างๆ

คนเราจะพบสาระหรือสาระก็แล้วแต่การเลือก และความเห็นอันถูกหรือผิดของตน ถ้ารู้จักเลือก และมีความเห็นถูกอยู่คู่ใจแล้ว ย่อมประสบสิ่งอันเป็นสาระจนได้

หากจะตั้งปัญหาถามว่า อะไรคือทางให้พบสาระ? ก็ตอบโดยอาศัยพระพุทธภาษิตนี้เป็นหลักว่า สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบเห็นถูก อธิบายว่า ความเห็นชอบย่อมนำไปสู่การกระทำชอบและพูดชอบ ตลอดถึงความพยายามชอบ

มิจฉาทิฏฐิเป็นยอดโทษฉันใด สัมมาทิฏฐิก็เป็นยอดคุณฉันนั้น คนเราจะพบสาระหรือสาระก็แล้วแต่การเลือก และความเห็นอันถูกหรือผิดของตน ถ้ารู้จักเลือก และมีความเห็นถูกอยู่คู่ใจแล้ว ย่อมประสบสิ่งอันเป็นสาระจนได้

เรื่องประกอบ : เรื่องอาจารย์สัญชัย

สัญชัยเป็นคณาจารย์คนหนึ่ง บรรดาคณาจารย์มากมายในกรุงราชคฤห์ สัญชัยพอใจเป็นนักพรตประเภทปริพพาชก ดังนั้น บางคราวเราจะได้ยินคำว่า สัญชัยปริพพาชก เขาเป็นอาจารย์ของพระสารีบุตรและโมคคัลลานะ ในสมัยที่ท่านทั้งสองยังเป็นหนุ่มชื่อ อุปติสสะ และโกลิตะ อยู่

ขอกล่าวเรื่องของท่านทั้งสองเล็กน้อยก่อน เพื่อให้เรื่องเชื่อมกันสนิท

ในสมัยเป็นฆราวาส อุปติสสะ และโกลิตะ เป็นเพื่อนรักกันและมั่งคั่งด้วยกันทั้งสองคน บิดาของอุปติสสะ เป็นผู้ใหญ่บ้านในอุปปติสสคาม บิดาของโกลิตะ ก็เป็นผู้ใหญ่บ้านในโกลิตคาม สองตระกูลนี้มีความสัมพันธ์เป็นสหายกันมา ๗ ชั่วอายุคนแล้ว

เมื่อเติบโต ทั้งสองได้ศึกษาศิลปศาสตร์อันเป็นทางเลี้ยงชีพและทางนำมาซึ่งเกียรติยศชื่อเสียงสำเร็จทุกประการ เขาชอบไปดูมหรสพบนยอดเขา ย่อมหัวเราะในที่ควรหัวเราะ เศร้าสลดในที่ควรเศร้าสลด และให้รางวัลแก่ผู้แสดงที่ตนชอบใจ

ต่อมาวันหนึ่ง อุปติสสะ มีอาการแปลกไป คือนั่งเฉยเหมือนคิดอะไรอย่างหนึ่งอย่างลึกซึ้ง ว่า คนเหล่านี้ ไม่ถึงร้อยปีก็คงจักต้องตายกันหมด จะเพลิดเพลินอะไรกันอยู่ เราน่าจะแสวงหาโมกขธรรม

โกลิตะ เห็นด้วย จึงพากันออกแสวงหาโมกขธรรม (ธรรมอันเป็นทางให้พ้นทุกข์) ทั้งสองตกลงกันแล้ว พร้อมด้วยบริวารคนละ ๕๐๐ ออกบวชในสำนักของอาจารย์สัญชัย

ตั้งแต่ทั้งสองสหายบวชแล้ว สัญชัยก็เป็นผู้เลิศด้วยลาภและบริวาร ล่วงไปเพียง ๒-๓ วัน อุปติสสะ และโกลิตะก็สามารถเรียนจบคำสอนของอาจารย์ เมื่อทราบจากอาจารย์สัญชัยว่า ไม่มีคำสอนอื่นใดอันยิ่งกว่านี้แล้ว เขาทั้งสองคิดกันว่า การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของอาจารย์สัญชัย ไม่มีประโยชน์อะไร เราทั้งสองออกบวชเพื่อแสวงหาโมกขธรรม แต่ไม่สามารถพบได้ในสำนักของอาจารย์ผู้นี้ อันชมพูทวีปนี้ กว้างใหญ่นัก เราเที่ยวไปในคามนิคม ชนบทราชธานี คงจักได้อาจารย์ผู้แสดงโมกขธรรมเป็นแน่แท้

ตั้งแต่นั้น ใครพูดว่าที่ใดมีสมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต, ทั้งสองก็ไปทำการสากัจฉากับสมณพราหมณ์นั้น ปัญหาที่เขาถาม, อาจารย์เหล่านั้นไม่อาจแก้ได้ เขาเที่ยวสอบหาอาจารย์ทั่วชมพูทวีป แต่ไม่ประสบ จึงกลับมาสู่สำนักเดิม นัดหมายกันว่าใครได้บรรลุอมตธรรมก่อนขอจงบอกแก่กัน

สัญชัยปริพพาชก เป็นอาจารย์ของพระสารีบุตรและโมคคัลลานะในสมัยที่ท่านทั้งสองยังเป็นหนุ่มชื่อ อุปติสสะ และโกลิตะ พากันออกไปแสวงหาโมกขธรรม เมื่อทราบจากอาจารย์สัญชัยว่า ไม่มีคำสอนอื่นใดอันยิ่งกว่านี้แล้ว เขาทั้งสองจึงคิดว่า ไม่ควรอยู่ในสำนักนี้ต่อไป

ระยะนั้น พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จถึงกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ เวฬุวัน อันพระราชาพิมพิสารทูลถวาย

พระสาวกรูปหนึ่ง ในจำนวนปัญจวัคคีย์ คือพระอัสสชิ ออกบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ในเช้าวันหนึ่ง อุปติสสะบริโภคอาหารเช้าแล้วก็ออกแต่เช้าเหมือนกัน เขาได้เห็นพระอัสสชิแล้ว รำพึงว่า “นักบวชอย่างนี้ เราไม่เคยพบเลย คงจักเป็นรูปหนึ่งรูปใด บรรดาผู้บรรลุแล้วซึ่งพระอรหัตตผลในโลก ไฉนหนอเราจักเข้าไปสอบถามความสงสัยของเราได้”

เขากลับคิดว่า เวลานี้ ยังไม่ควรก่อน เพราะพระกำลังบิณฑบาต จึงติดตามไปข้างหลัง เขาเห็นพระเถระได้อาหารบิณฑบาตพอสมควรแล้ว ไปสู่ที่แห่งหนึ่งเพื่อฉัน เขาเห็นพระเถระแสดงอาการว่าจะนั่ง จึงได้จัดตั้งของปริพพาชกสำหรับตนถวาย เมื่อพระเถระฉันเสร็จแล้วก็ได้รินน้ำในกุณโฑของตนถวายแล้วถามว่า

“อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชอุทิศใคร? ใครเป็นศาสดาของท่าน? ท่านชอบใจธรรมของใคร?”

พระอัสสชิ คิดว่า “โดยปกติ ปริพพาชก ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนา เราจักแสดงความลึกซึ้งในพระศาสนาแก่ปริพพาชกนี้” แต่ได้กล่าวถ่อมตนก่อนว่า

“ผู้มีอายุ! ข้าพเจ้ามาสู่ธรรมวินัยนี้ไม่นานนัก ยังเป็นผู้ใหม่อยู่ ข้าพเจ้าไม่สามารถแสดงธรรมโดยพิสดารได้”

ปริพาชกเรียนว่า “ข้าพเจ้าชื่ออุปติสสะ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงกล่าวธรรมตามสามารถเถิด จะน้อยหรือมากไม่สำคัญ การแทงตลอดธรรมนั้นเป็นหน้าที่ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการแต่ใจความเท่านั้น”

พระอัสสชิจึงแสดงหลักสำคัญแห่งพระพุทธศาสนาทั้งปวง อันรวมเอาหลักอริยสัจและปฏิจจสมุปบาทไว้ด้วย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หลักแห่งเหตุผล ดังนี้

“สิ่งทั้งปวง ย่อมมีเหตุ เกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าตรัสบอกเหตุ และวิธีดับไว้ด้วย พระมหาสมณะ (พระพุทธเจ้า) มีปกติตรัสอย่างนี้”

อุปติสสปริพพาชกฟังแล้วเพียง ๒ บทต้นเท่านั้น ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เมื่อพระเถระกล่าวจบลง เขาได้เรียนท่านว่า “ท่านไม่ต้องขยายธรรมเทศนาให้ยิ่งขึ้นไป แต่ว่า ข้าพเจ้าอยากทราบว่า พระศาสดาของพวกเราประทับอยู่ที่ใด”

พระอัสสชิตอบว่า เวลานี้พระศาสดาประทับอยู่ ณ เวฬุวันกลันทกนิวาปะ

ปริพพาชกเรียนว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ! ขอท่านได้โปรดล่วงหน้าไปก่อนเถิด ข้าพเจ้ามีเพื่อนอยู่คนหนึ่งได้ทำสัญญากันไว้ว่า ผู้ใดได้บรรลุธรรมก่อน จงบอกกัน ข้าพเจ้าจักไปบอกเพื่อนแล้วพากันไปสู่สำนักของพระศาสดา”

เขาหมอบลงแทบเท้าของพระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กระทำประทักษิณ ๓ รอบ แล้วไปสู่อารามของปริพพาชกเพื่อบอกธรรมแก่โกลิตะผู้สหาย

โกลิตะเห็นสหายมา สังเกตสีหน้าและอาการแล้วรู้ว่า อุปติสสะคงได้บรรลุธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่แท้ จึงถามอุปติสสะบอกความทั้งปวงแล้ว โกลิตะก็ได้สำเร็จ โสดาปัตติผลเหมือนกัน

ทั้งสองชวนกันไปเฝ้าพระศาสดา แต่อุปติสสะ ระลึกถึงอาจารย์ จึงเข้าไปหาอาจารย์เล่าความทั้งปวงให้ฟัง แล้วชวนอาจารย์ไปเฝ้าพระศาสดาด้วย แต่สัญชัยไม่ยอมไป อ้างว่าเป็นผู้ใหญ่ชั้นครูบาอาจารย์แล้ว ไม่ควรไปเป็นศิษย์ของใครอีก

เมื่อสองสหายคะยั้นคะยอหนักเข้า สัญชัยจึงถามว่า ในโลกนี้มีคนโง่มาก หรือคนฉลาดมาก สองสหายตอบว่า มีคนโง่มาก สัญชัยจึงสรุปว่า ขอให้พวกฉลาดๆ ไปหาพระสมณโคดมเถิด ส่วนพวกโง่ๆ จงมาหาเราและอยู่ในสำนักของเรา

เมื่อเห็นว่าชักชวนอาจารย์ไม่สำเร็จแน่แล้ว สองสหายก็จากไป ศิษย์ในสำนักของสัญชัยได้ตามไปด้วยเป็นจำนวนมาก ประหนึ่งว่าอารามนั้นจะว่างลง สัญชัยเห็นดังนั้น เสียใจจนอาเจียนออกมาเป็นเลือด ศิษย์ของสัญชัย ๒๕๐ คน คงจะสงสารอาจารย์จึงกลับเสียในระหว่างทาง คงติดตามสองสหายไป ๒๕๐ คน

เมื่อเขาทั้งสองถึงเวฬุวันนั้น เป็นเวลาที่พระศาสดากำลังแสดงธรรมอยู่ ท่ามกลางบริษัท ทอดพระเนตรเห็นสองสหายกำลังมา จึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า

“ภิกษุทั้งหลาย! สองสหาย คืออุปติสสะ และโกลิตะกำลังมา เขาทั้งสองจักเป็นอัครสาวกของเรา”

สองสหายถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาแล้ว

พระศาสดาทรงขยายพระธรรมเทศนาพุ่งเอาอุปนิสัยของบริวารแห่งสหายทั้งสองเป็นเกณฑ์ เพื่อให้ได้สำเร็จมรรคผลก่อน เมื่อจบเทศนา บริวารทั้งหมด ๒๕๐ คนได้สำเร็จอรหัตตผล ส่วนสองสหายยังไม่ได้บรรลุ เพราะเหตุไร?

ท่านว่าสาวกบารมีญาณเป็นของใหญ่ ต้องมีคุณาลังการมากมาย เหมือนการเสด็จของพระราชาย่อมต้องมีการเตรียมการมากกว่าสามัญชน อนึ่งคนมีปัญญามาก ย่อมต้องไตร่ตรองมาก มิได้ปลงใจเชื่อสิ่งใดโดยง่าย แล้วใคร่ครวญให้เห็นเหตุ เห็นผลด้วยตนเองก่อนแล้วจึงเชื่อ แต่คนพวกนี้พอสำเร็จอะไรแล้วก็ประดับด้วยคุณาลังการทุกประการอันเป็นบริวารธรรมแห่งสิ่งอันตนได้สำเร็จนั้น

หลังจากบวชแล้ว อุปติสสะได้นามใหม่ว่า “พระสารีบุตร-บุตรของสารีพราหมณี” ส่วนโกลิตะได้นามใหม่ว่า “โมคคัลลานะ-เพราะเป็นบุตรของโมคคัลลีพราหมณี”

พระโมคคัลลานะบวชแล้ว ๗ วัน ไปทำความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตะในแคว้นมคธนั่นเอง โงกง่วงอยู่ พระศาสดาทรงแสดงธรรม บรรเทาความง่วงแล้ว ทรงแสดงธาตุกัมมฐาน จนพระโมคคัลลานะได้บรรลุพระอรหัตตผล

ฝ่ายพระสารีบุตร บวชแล้วได้ครึ่งเดือน ไปอยู่ที่ถ้ำสุกรขาตา กับพระศาสดา ถ้ำนี้อยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ เมื่อพระศาสดาทรงแสดงธรรม ชื่อเวทนาปริคคหสูตร (สูตรว่าด้วยการกำหนดเวทนา) แก่ทีฆนขปริพพาชก หลานของตนอยู่ ได้ส่งญาณไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนา ได้บรรลุพระอรหัตตผล ประดับด้วยคุณาลังการทั้งปวงมีปฏิสัมภิทา ๔ และอภิญญา ๖ เป็นต้น

ในเวลาบ่ายวันนั้นเอง พระศาสดาทรงประชุมพระสาวกที่พระเวฬุวัน ประทานตำแหน่งอัครสาวกแก่พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ แล้วทรงแสดงพระปาฏิโมกข์

ภิกษุทั้งหลายติเตียนพระศาสดาว่า ทรงประทานตำแหน่งอัครสาวกอย่างเห็นแก่หน้า ไม่ยุติธรรม ตำแหน่งอัครสาวกควรตกแก่พระปัญจวัคคีย์รูปใดรูปหนึ่ง มีพระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นต้น หรือมิฉะนั้นก็พวกพระยสะ พวกภัททวัคคีย์ ๓๐ หรือคณะชฏิล ๓ พี่น้องมีอุรุเวลกัสสป เป็นต้น เพราะท่านเหล่านี้บวชก่อน แต่พระศาสดาละเลยภิกษุเหล่านั้นเสีย ทรงประทานตำแหน่งอัครสาวกแก่ผู้บวชใหม่เพียง ๑๕ วัน ไม่ควรเลย

พระศาสดาทรงทราบเรื่องนั้นแล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า

“ภิกษุทั้งหลาย! เราให้ตำแหน่งอัครสาวกแก่สารีบุตรโมคัลลานะ เพราะอคติเห็นแก่หน้าก็หาไม่ เราให้ตามมโนปณิธานของเขาทั้งสอง อนึ่งโกณทัญญะ และภิกษุเหล่าอื้น มิได้ตั้งความปรารถนาไว้เพื่อความเป็นอัครสาวก”

เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลถามจึงตรัสเล่า ปุพพกรรมและปณิธานของภิกษุนั้น มีของพระอัญญาโกณทัญญะ เป็นต้น จนถึงปณิธานของพระสารีบุตรที่ตั้งไว้สมัยเป็นสรทดาบส ภิกษุทั้งหลายได้ฟังแล้วก็หายข้องใจ

เรื่องปุพพกรรมและปณิธานของท่านเหล่านี้มีพิสดารพอสมควรในอรรถกถาธรรมบท ท่านผู้ปรารถนาโปรดหาอ่านจากที่นั้นเถิด ข้าพเจ้าไม่นำมากล่าวในที่นี้เพราะเกรงจะยาวเกินไป

รวมความว่า ทุกท่านได้ตำแหน่งอันเหมาะสมแก่บุญบารมี และมโนปณิธานของตน

เมื่อพระศาสดาตรัสจบแล้ว พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะได้ทูลเล่าเรื่องปัจจุบันของตน ตั้งแต่การได้ความสังเวชสลดจิตในการไปดูมหรสพบนภูเขา จนถึงได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ แล้วชวนอาจารย์สัญชัยมาเฝ้าพระศาสดา

แต่อาจารย์สัญชัยหามาไม่ เพราะอ้างว่าเคยเป็นอาจารย์ของคนเป็นอันมากแล้ว ไม่สามารถเป็นศิษย์ของใครได้อีก

พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว จึงตรัสว่า

“ภิกษุทั้งหลาย! สัญชัย ถือสิ่งอันไม่มีสาระว่า มีสาระ ถือสิ่งอันมีสาระ ว่าไม่มีสาระ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ ส่วนเธอทั้งสองรู้จักสิ่งที่เป็นสาระว่าเป็นสาระ สิ่งไม่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เพราะเธอเป็นบัณฑิต ละทิ้งสิ่งอันไม่เป็นสาระ ถือเอาเฉพาะสิ่งที่เป็นสาระ”

ดังนี้แล้ว ตรัสพระพุทธภาษิต ซึ่งยกขึ้นกล่าวไว้แล้วแต่เบื้องต้น นั่นแล

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

เสียงอ่าน : ทางให้พบสิ่งอันเป็นสาระ

สักการะเคารพธรรมแล้วอาศัยอยู่

ว่าด้วยสักการะเคารพธรรมแล้วอาศัยอยู่
สรุปคัดย่อจากพระสูตร : คารวสูตร

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธแถบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เขตอุรุเวลาประเทศ ฯ ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคผู้เสด็จเข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า

บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์ใครผู้ใดอยู่หนอ ฯ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า

๐ เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่

=> เพื่อความบริบูรณ์แห่งศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์
=> เพื่อความบริบูรณ์แห่งสมาธิที่ยังไม่บริบูรณ์
=> เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์
=> เพื่อความบริบูรณ์แห่งวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์
=> เพื่อความบริบูรณ์แห่งวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์

แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วย …(ด้วยศีล)..(ด้วยสมาธิ)..(ด้วยปัญญา)..(ด้วยวิมุตติ)..(ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ)….ยิ่งกว่าตน ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่

๐ อย่ากระนั้นเลย เราควรสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั้นแหละ แล้วอาศัยอยู่ ฯ
……………………………………….

ลำดับนั้น สหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคด้วยใจแล้ว ก็อันตรธานไปในพรหมโลก มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดได้มีมาแล้วตลอดกาลอันล่วงแล้ว แม้พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น ก็ทรงสักการะเคารพธรรมนั่นเองแล้วอาศัยอยู่

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดจักมีตลอดกาลไกลอันยังไม่มาถึงแม้พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น ก็จักทรงสักการะเคารพธรรมนั่นเองแล้วอาศัยอยู่ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ขอจงทรงสักการะเคารพธรรมนั่นแหละ แล้วอาศัยอยู่ ฯ

สหัมบดีพรหม ได้กราบทูลดังนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กล่าวนิคมคาถาอีกว่า

พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ยังไม่มีมาก็ดี และพระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดในบัดนี้ผู้ยังความโศกของชนเป็นอันมากให้เสื่อมหายก็ดีพระพุทธเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์ ทรงเคารพพระสัทธรรมอยู่แล้ว ยังอยู่ และจักอยู่ต่อไป ข้อนี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เพราะเหตุนั้นแหละ กุลบุตรผู้รักตนหวังความเป็นผู้ใหญ่
เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
“พึงเคารพพระสัทธรรม”

จากสังยุตตนิกาย สคาถวรรค
พรหมสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑
คารวสูตรที่ ๒
=> คลิกอ่าน

กายนี้เกิดขึ้นด้วยอาหาร อาศัยอาหารแล้วพึงละอาหารเสีย

กายนี้เกิดขึ้นด้วยอาหาร อาศัยอาหารแล้วพึงละอาหารเสีย

ดูกรน้องหญิง ก็คำที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วยอาหาร อาศัยอาหารแล้วพึงละอาหารเสีย ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรน้องหญิง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว บริโภคอาหาร ไม่บริโภคเพื่อเล่น ไม่บริโภคเพื่อมัวเมา ไม่บริโภคเพื่อประเทืองผิว ไม่บริโภคเพื่อประดับ บริโภคเพียงเพื่อความตั้งอยู่แห่งกายนี้ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เพื่อระงับความหิวกระหาย เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า ด้วยการบริโภคนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าได้ด้วย และจักไม่ยังเวทนาใหม่ให้เกิด ความดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษ และความผาสุก จักมีแก่เรา สมัยต่อมา ภิกษุนั้นอาศัยอาหาร แล้วละอาหารเสียได้

ดูกรน้องหญิง คำที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วยอาหารอาศัยอาหารแล้วพึงละอาหารเสีย ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าว

จากอังคุตตรนิกาย
จตุกกนิบาต จตุตถปัณณาสก์
อินทรียวรรคที่ ๑ ข้อ ๑๕๙
=> คลิกอ่าน

อัยยิกาสูตร : สัตว์ทั้งหลายต้องตาย เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด

หากหม่อมฉันจะพึงได้สมหวังว่า ขอพระอัยยิกาเจ้าของเราอย่าได้เสด็จทิวงคตเลย ดังนี้ แม้ด้วยใช้ช้างแก้วแลกไซร้ หม่อมฉันพึงให้แม้ซึ่งช้างแก้วเพื่อให้ได้สมหวัง ดังนี้ พระพุทธเจ้าข้า [แม้ด้วยใช้ .. ม้าแก้ว, บ้านส่วย, ชนบท]
…………………………………………………….……

ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น มหาบพิตร สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง มีความตายเป็นธรรมดา มีความตายเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้เลย

ดูกรมหาบพิตร ภาชนะดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งที่ดิบทั้งที่สุก ภาชนะดินเหล่านั้นทั้งหมด มีความแตกเป็นธรรมดามีความแตกเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นความแตกไปได้เลย แม้ฉันใด ดูกรมหาบพิตรสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง มีความตายเป็นธรรมดา มีความตายเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้เลย ฉันนั้นเหมือนกันแล

จากอัยยิกาสูตร
=> คลิกอ่าน
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

มุทุลักขณชาดก : ว่าด้วยความต้องการไม่มีสิ้นสุด

ครั้งก่อน อาตมภาพยังไม่ได้รับพระราชทานพระเทวีมุทุลักขณาของมหาบพิตรองค์นี้ อาตมภาพมีความปรารถนาอย่างเดียว เกิดความต้องการขึ้นอย่างเดียวเท่านั้นว่า โอหนอ เราพึงได้พระนาง

แต่พออาตมภาพได้รับพระราชทานพระนางผู้มีพระเนตรแวววาว มีพระเนตรกว้าง มีดวงพระเนตรงามขำเข้าแล้ว ทีนั้น ความปรารถนาข้อแรกของอาตมา ช่วยให้กำเนิดเกิดความปรารถนาสืบต่อเนื่องขึ้นไป เช่นความปรารถนาเรื่องเรือน ความปรารถนาในเครื่องอุปกรณ์ ความปรารถนาในเครื่องอุปโภคเป็นต้น

ก็ความปรารถนาของอาตมานั้นเล่า เมื่อพอกพูนเข้าอย่างนี้จักไม่ยอมให้อาตมภาพยกศีรษะขึ้นได้จากอบาย

พอกันทีสำหรับพระนางนี้ที่จะเป็นภรรยาของอาตมภาพ ขอมหาบพิตรจงรับมเหสีของมหาบพิตรคืนไป. ส่วนอาตมภาพจักไปหิมพานต์.

จากอรรถกถา เอกกนิบาตชาดก อิตถีวรรค
มุทุลักขณชาดก
=> คลิกอ่าน


๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

วัมมิกสูตร : ว่าด้วยปริศนาจอมปลวก

ข้อความจากวัมมิกสูตร : ว่าด้วยปริศนาจอมปลวก

เจ้าจงใช้ ปัญญาเพียงดั่งศาตรา
ยกลิ่มสลักขึ้น คือจงละอวิชชาเสีย จงขุดมันขึ้นเสีย.

เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดั่งศาตรา
ยกอึ่งขึ้นเสีย คือจงละความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธเสีย จงขุดมันเสีย.

เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรา 
ก่นทาง ๒ แพร่งเสีย คือจงละวิจิกิจฉาเสีย จงขุดมัน เสีย

เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรา
ยกหม้อกรองน้ำด่างขึ้นเสีย คือจงละนิวรณ์ ๕ เสีย จงขุดขึ้นเสีย.

เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรา
ยกเต่าขึ้นเสียคือ จงละอุปาทานขันธ์ ๕ เสีย จงขุดขึ้นเสีย.

เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรา
ยกเขียงหั่นเนื้อเสีย
คือ จงละกามคุณ ๕ เสีย จงขุดขึ้นเสีย.

เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรา
ยกชิ้นเนื้อขึ้นเสีย คือ จงละนันทิราคะ จงขุดขึ้นเสีย

นาคนั้น เป็นชื่อของ ภิกษุผู้ขีณาสพ
นาคจงหยุดอยู่เถิด เจ้าอย่าเบียดเบียนนาค จงทำความนอบน้อมต่อนาค

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
โอปัมมวรรค
วัมมิกสูตร
อ่านพระสูตร คลิกที่นี่ >>>> วัมมิกสูตร

หนังสือ “วัมมิกสูตร ปริศนาแห่งจอมปลวก”
โดย.. พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ)
ดาวน์โหลดหนังสือ คลิกที่นี่ >>>> หนังสือวัมมิกสูตร

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
ฟังธรรมบรรยาย วัมมิกสูตร
หลวงพ่อประจาก สิริวณฺโณ
:
ตอนที่ ๑

วัมมิกสูตร : ประวัติพระกุมารกัสสปะ
:

:
:
ตอนที่ ๒
:

:
:
ตอนที่ ๓
:

:
:
ตอนที่ ๔
:

:
:
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

 

รู้จักพระไตรปิฎก ให้ชัด ให้ตรง

หนังสือ “รู้จักพระไตรปิฎก ให้ชัด ให้ตรง”
พระพรหมคุณาภรณ์

ดาวน์โหลดหนังสือ คลิกที่นี่ =>  รู้จักพระไตรปิฎก ให้ชัด ให้ตรง
  
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ปรารภ

หนังสือนี้ถือว่าเขียนพอเสร็จให้อ่านไปพลางก่อน เพราะเรื่องที่ปรารภเกิดขึ้นนานแล้วจึงทราบ ควรเร่งให้ความรู้กันไปขั้นหนึ่งก่อนไม่ให้เป็นความประมาท เมื่อใดทราบเรื่องราวที่เป็นไปละเอียดขึ้น ถ้าเวลาอำนวยและร่างกายยังไหว อาจจะได้ต่อได้เติม

เรื่องราวจำพวกปัญหาที่เกิดทยอยมาระยะนี้ แสดงชัดถึงสภาพของพุทธบริษัท ที่คนไทยเหินห่างจากเนื้อตัวของพระพุทธศาสนา ขาดความรู้หลักธรรมวินัย ไม่รู้จักคำพระคำวัดที่พูดจาคุ้นกันมาจนกลายเป็นคำพูดสามัญในสังคมไทย มีแต่ความเข้าใจผิดพลาดเพี้ยนกันไป เมื่อมีเรื่องจำพวกปัญหาเกิดขึ้น ถ้าไม่ถึงกับหลงไปตามเขา ก็มองไม่ออก ตัดสินไม่ได้

จำเป็นต้องรีบตื่นกันขึ้นมา ข้อสำคัญที่สุดอยู่ที่ต้องหาต้องให้ความรู้เข้าใจที่ถูกต้อง คือต้องศึกษา เมื่อรู้เข้าใจเพียงพอแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นมา ก็สามารถพิจารณา มองออกและบอกได้ทันที

หนังสือ รู้จักพระไตรปิฎก ให้ชัด ให้ตรง นี้ มิใช่จะตอบโต้ใครแต่มุ่งรักษาประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ อย่างน้อยให้ปลอดพ้นความรู้ผิดเข้าใจพลาดที่เป็นภัยสำคัญ หลายอย่างคงจะยากสักหน่อย แต่ว่าด้วยเรื่องที่จำ เป็นต้องรู้ เพื่อมีคุณสมบัติสมกับที่ได้นับถือพระพุทธศาสนา จึงพึงอดทนศึกษา เหมือนเป็นเครื่องพิสูจน์ความเป็นพุทธศาสนิกชน

ผู้เขียน (พระพรหมคุณาภรณ์)
๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

อวิชชาสูตร

อวิชชาสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขาเมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้

แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

จากอวิชชาสูตร
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
ทุติยปัณณาสก์ ยมกวรรค
คลิกอ่าน >>>> อวิชชาสูตร
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

อนิจจา วต สงฺขารา

อนิจจา วต สงฺขารา อุปปทวยธมฺมิโน อุปปชฺชิตฺวา นิรุชฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีการเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป การสงบสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นสุข

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
หมายเหตุ : จากมหาปรินิพพานสูตร
เป็นคาถาสุภาษิต แสดงธรรมสังเวชของท้าวสักเทวราช เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น เมื่อครั้งที่พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว ซึ่งต่อมาพระสงฆ์นิยมนำมาใช้สวดในพิธีบังสุกุล

กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนพราหมณ์ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นาน

ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว. และเพราะบุคคลเจริญ กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.

จากสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
พราหมณสูตร
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ธรรม ๕ ประการ เป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๐ ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ ๑
๐ ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑
๐ ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑
๐ ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๑
๐ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ

จาก สัทธรรมสัมโมสสูตร
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการ เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม

ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้

ที่แท้ “โมฆบุรุษ” ในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป

เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ

ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม

เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง

ในพระศาสดา ๑
ในพระธรรม ๑
ในพระสงฆ์ ๑
ในสิกขา ๑
ในสมาธิ๑

เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

จากสัทธรรมปฏิรูปกสูตร
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคต

อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต

ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.

จากสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

อุปสิงฆปุปผกชาดก : ว่าด้วยคนดีไม่ควรทำชั่วแม้นิดหน่อย

ข้อความบางส่วนจาก อรรถกถาอุปสิงฆปุปผกชาดก

ชายคนนี้ใด ขุดเหง้าบัว เด็ดดอกบุณฑริก ชายคนนี้นั้น ผู้มีการงานเลอะเทอะอย่างนี้ แต่เหตุไรจึงไม่มีใครว่า?

ชายผู้มีกรรมหยาบดาดดื่นแล้ว เปรอะเปื้อนบาป เหมือนผ้าอ้อม ข้าพเจ้าจึงไม่มีคำพูดอะไรในเรื่องนั้น แล้วข้าพเจ้าควรเพื่อจะว่ากล่าวเขาได้

สำหรับคนผู้ไม่มีกิเลสดุจเนิน มีปกติแสวงหาความสะอาดเป็นนิจ บาปประมาณเท่าปลายขนทราย จะปรากฏแก่เขาประมาณเท่ากลีบเมฆทีเดียว.

คนนี้จะเป็นผู้เปื้อนไปด้วยบาปทีเดียว เหมือนกับผ้านุ่งของพี่เลี้ยงที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก มูตรและคูถ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่มีการว่าอะไรในเรื่องนั้น.

แต่สมณะทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักเป็นผู้ใคร่ต่อโอวาท ข้าแต่สมณะ เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงควรเพื่อจะว่ากล่าวเขาผู้ทำสิ่งที่ไม่สมควรแม้มีประมาณน้อย.

บาปจะปรากฏเป็นสิ่งมีประมาณเท่าเมฆก้อนใหญ่ บัดนี้ เหตุไฉนท่านจึงจะทำโทษแบบนี้ให้เป็นอัพโภหาริก เป็นเหมือนไม่มีโทษไป.

คลิกอ่าน >>> อุปสิงฆปุปผกชาดก

รูปเป็นอนัตตา รูปมิใช่ตัวตน

จากอนัตตลักขณสูตร 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น “อนัตตา”

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็น “อัตตา” แล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็น “อนัตตา” ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

จากปัญจวัคคิยสูตร : ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย “รูปมิใช่ตัวตน”.

“ก็หากว่ารูปนี้จักเป็นตัวตน” แล้วไซร้ รูปนี้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอรูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ก็เพราะเหตุที่รูปมิใช่ตัวตน ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอรูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

คลิกอ่านปัญจวัคคิยสูตร
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

กีสาโคตมี : แม่ผู้ต้องการชุบชีวิตลูก

ดูก่อนโคตมี
เธอมาที่นี้เพื่อต้องการยานับว่าทำดีมาก เธอจงเข้าไปยังนคร เดินเที่ยวไปตลอดนครนับแต่ท้ายบ้านไป ในเรือนใดไม่เคยมีคนตาย จงนำเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากเรือนนั้นมา

จากอรรถกถา อังคุตตรนิกาย
เอกนิบาต เอตทัคคบาลี
(อรรถกถาสูตรที่ ๑๒)

คลิกอ่าน

อังคุตตรนิกาย อินทรียวรรค ข้อ ๑๕๙ : กายนี้เกิดขึ้นด้วยตัณหา อาศัยตัณหา แล้วพึงละตัณหาเสีย

ดูกรน้องหญิง

๐ กายนี้เกิดขึ้นด้วยอาหาร อาศัยอาหารแล้วพึงละอาหารเสีย
๐ กายนี้เกิดขึ้นด้วยตัณหา อาศัยตัณหา แล้วพึงละตัณหาเสีย
๐ กายนี้เกิดขึ้นด้วยมานะ อาศัยมานะแล้วพึงละมานะเสีย
๐ กายนี้เกิดขึ้นด้วยเมถุน ควรละเมถุนเสีย การละเมถุน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เสตุฆาต (การฆ่ากิเลสด้วยอริยมรรค)

จากอังคุตตรนิกาย
จตุกกนิบาต จตุตถปัณณาสก์
อินทรียวรรคที่ ๑ ข้อ ๑๕๙
คลิกอ่าน

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ธรรมวินัย คำสั่งสอนของพระศาสดา

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่หม่อมฉัน ซึ่งหม่อมฉันได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไป
๐ เพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
๐ เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อพรากสัตว์ออก
๐ เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
๐ เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
๐ เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
๐ เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
๐ เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
๐ เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคน
เลี้ยงง่าย

ดูกรโคตมี ท่านพึงทรงจำไว้โดยส่วนหนึ่งว่า
**นี้ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัยไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา ฯ **

ดูกรโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไป

๐ เพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด
๐ เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้
๐ เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส
๐ เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก
๐ เป็นไปเพื่อสันโดษไม่เป็นไปเพื่อไม่สันโดษ
๐ เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
๐ เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
๐ เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก

ดูกรโคตมี ท่านพึงทรงจำไว้โดยส่วนหนึ่งว่า
**นี้เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ฯ**

จากสังขิตตสูตร
ในอังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต
สันธานวรรคที่ ๑

ธรรมวินัย คำสั่งสอนของพระศาสดา

ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรอุบาลี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า

๐ ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว

เธอพึงทรงธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรม นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่เป็นคำสั่งสอนของศาสดา

อนึ่ง เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า

๐ ธรรมเหล่านี้เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว

เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของศาสดา ฯ

จากอังคุตตรนิกาย
สันตกนิบาต ปัณณาสก์
วินัยวรรคที่ ๓

ความสะดุ้งต่อความตาย

ดูกรพราหมณ์

๐ สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาย่อมกลัว ถึงความสะดุ้งต่อความตาย มีอยู่

๐ สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย มีอยู่

………………………………………………………………………………….

จากโยธาชีววรรคที่ ๔
[ในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จตุตถปัณณาสก์]

เปิดอ่าน => พระสูตร โยธาชีววรรค [๑๘๔]

ราคะเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรม

เปือกตมคือกามอันผู้ใดข้ามได้แล้ว
หนาม คือกามอันผู้ใดย่ำยีได้แล้ว
ผู้นั้นบรรลุความสิ้นไปแห่งโมหะ
ย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์.

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ วุฏฺฐี สมติวิชฺฌติ
เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ ราโค สมติวิชฺฌติ.
ยถา อคารํ สุจฺฉนฺ วุฏฺฐี น สมติวิชฺฌติ
เอวํ สุภาวิตํ จิตฺตํ ราโค น สมติวิชฺฌติ.

ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ฉันใด
ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้ฉันนั้น.
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ฉันใด
ราคะก็ย่อมเสียดแทงจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ฉันนั้น.

คาถาธรรมบท ยมกวรรค

ความประมาทเป็นไฉน

ความประมาทเป็นไฉน

ความปล่อยจิต การสนับสนุนความปล่อยจิตในกามคุณ ๕ ด้วยกายทุจริต ด้วยวจีทุจริต หรือด้วยมโนทุจริต หรือการกระทำโดยไม่เคารพ ความกระทำไม่ติดต่อ ความทำอันหาประโยชน์มิได้ ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่อบรม ความไม่ทำให้มาก ซึ่งการอบรมกุศลธรรมทั้งหลาย.

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
จากอรรถกถาอัจฉราสังฆาตวรรค
(เอกธัมมาทิบาลี วรรคที่ ๖)

ทุกข์อันไม่น่ายินดี

ทุกข์อันไม่น่ายินดี
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี

ทุกข์อันไม่น่ารัก
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ารัก

ทุกข์ย่อมครอบงำ
บุคคลผู้ประมาท
โดยความเป็นสุข

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
จากสุปปวาสาสูตร

สละสุขพอประมาณ เพื่อสุขอันไพบูลย์

ถ้าว่าปราชญ์พึงเห็นความสุขอันไพบูลย์
เพราะสละความสุขพอประมาณไซร้

เมื่อปราชญ์เห็นความสุขอันไพบูลย์
พึงสละความสุขพอประมาณเสีย

จากคาถาธรรมบท ปกิณณกวรรค

นรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้มาก แม้น้อย

หากว่านรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้มาก แต่เป็นผู้ไม่ทำกรรมอันการกบุคคลพึงกระทำ เป็นผู้ประมาทแล้วไซร้ นรชนนั้นย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ ประดุจนายโคบาลนับโคของชนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีส่วนแห่งปัญจโครส ฉะนั้น

หากว่านรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้น้อยย่อมประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ทั่วโดยชอบ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว ไม่ถือมั่นในโลกนี้หรือในโลกหน้า นรชนนั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
จากคาถาธรรมบท ยมกวรรค

วาจาที่เป็นประโยชน์

สหสฺสมปิ เจ วาจา อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ.

หากวาจาแม้ตั้งพัน ไม่ประกอบด้วยบทที่เป็นประโยชน์ไซร้
บทที่เป็นประโยชน์บทเดียว ซึ่งบุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า.

จากคาถาธรรมบท สหัสสวรรค

จงรักษาจิต ธรรมดาจิตนี้บุคคลรักษาได้ยาก

“เธอจงรักษาจิตของเธอนั่นแหละ
ธรรมดาจิตนี้บุคคลรักษาได้ยาก
เธอจงข่มจิตของเธอไว้ให้ได้
อย่าคิดถึงอารมณ์ อะไรๆ อย่างอื่น
ธรรมดาจิตอันบุคคลข่มได้ยาก”

ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ

การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว
มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะว่า)
จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
จากอรรถกถาคาถาธรรมบท จิตวรรค

สังเวควัตถุ ๘ ประการ

ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรร่าเริง อธิบายว่า สมัยใด จิตไม่แช่มชื่นเพราะมีปัญญาและความเพียรอ่อนไป หรือเพราะไม่บรรลุสุขที่เกิดแต่ความสงบ สมัยนั้น ก็ทำจิตให้สลดด้วยพิจารณาสังเวควัตถุเรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลด ๘ ประการ
.
เรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลด ๘ ประการ คือ

๑. ชาติ
๒. ชรา
๓. พยาธิ
๔. มรณะ
๕. ทุกข์ในอบาย
๖. ทุกข์ในอดีตมีวัฏฏะเป็นมูล
๗. ทุกข์ในอนาคตมีวัฏฏะเป็นมูล
๘. ทุกข์ในปัจจุบันมีการแสวงหาอาหารเป็นมูล.

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
จากอรรถกถาทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาสติปัฏฐานสูตร

จงเตือนตนด้วยตนเอง

จงเตือนตนด้วยตนเอง
จงสงวนตนด้วยตนเอง

ดูกรภิกษุ
เธอนั้นผู้มีตนอันคุ้มครองแล้ว
มีสติ จักอยู่เป็นสุข

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน
ตนแลเป็นคติของตน
เพราะเหตุนั้น
ท่านจงสำรวมตน
เหมือนพ่อค้าระวังม้าดีไว้ ฉะนั้น

จากคาถาธรรมบท ภิกขุวรรค

ภิกษุผู้ยินดีในธรรม

ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี
ยินดีแล้วในธรรม
ค้นคว้าธรรม
ระลึกถึงธรรม
ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม

จากคาถาธรรมบท ภิกขุวรรค

พึงเห็นความสุขอันไพบูลย์

ถ้าว่าปราชญ์พึงเห็นความสุขอันไพบูลย์
เพราะสละความสุขพอประมาณไซร้

เมื่อปราชญ์เห็นความสุขอันไพบูลย์
พึงสละความสุขพอประมาณเสีย

จากคาถาธรรมบท ปกิณณกวรรค

ขึ้นชื่อว่ากิเลสทั้งหลาย

อย่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย

๐ ขึ้นชื่อว่ากิเลสทั้งหลาย ย่อมเป็นสภาพหยาบ

๐ ถ้ากิเลสเหล่านี้ มีรูปร่าง อันใครๆ พึงสามารถจะเก็บไว้ได้ในที่บางแห่ง จักรวาลก็แคบเกินไป พรหมโลกก็ต่ำเกินไป โอกาสของกิเลสเหล่านั้นไม่พึงมี (บรรจุ) เลย

๐ อันกิเลสเหล่านี้ ย่อมทำบุรุษอาชาไนยที่ถึงพร้อมด้วยปัญญา แม้เช่นกับเราให้มัวหมองได้ จะกล่าวอะไรในเหล่าชนที่เหลือ;

จากอรรถกถา คาถาธรรมบท จิตวรรค
เรื่องพระจิตตหัตถะ

ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเอง

ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเอง
ไม่ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมหมดจดด้วยตนเอง

ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว
คนอื่นพึงชำระคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่

บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตนให้เสื่อม
เพราะประโยชน์ของผู้อื่นแม้มาก

บุคคลรู้จักประโยชน์ของตนแล้ว
พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน ฯ

**************************
จากคาถาธรรมบท
อัตตวรรคที่ ๑๒
**************************

จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว
ย่อมนำทุกข์มาให้ เหมือนจิต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว
ย่อมนำทุกข์มาให้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมนำสุขมาให้ เหมือนจิต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมนำสุขมาให้ ฯ

*********************************
 จากอังคุตตรนิกาย
เอกนิบาต เอกธัมมาทิบาลี
อกัมมนิยวรรคที่ ๓

*********************************

ภัทเทกรัตตสูตร : ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด

พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผลัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแล ว่าผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ

จากภัทเทกรัตตสูตร  >>>  คลิกอ่าน

ฐานสูตร : ฐานะ ๕ ประการควรพิจารณาเนืองๆ

ฐานสูตร : ฐานะ ๕ ประการควรพิจารณาเนืองๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ

๕ ประการเป็นไฉน คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า

๐ เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑

๐ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑

๐ เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๑

๐ เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑

๐ เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
จากฐานสูตร >>> คลิกเปิดอ่าน
อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ นิวรณวรรค

มาลุงกยปุตตเถรคาถา : สุภาษิตสอนให้ละตัณหา

มาลุงกยปุตตเถรคาถา : สุภาษิตสอนให้ละตัณหา

ตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์ผู้ประพฤติประมาท เหมือนเถาย่านทรายเจริญอยู่ในป่าฉะนั้น

บุคคลผู้ตกอยู่ในอำนาจของตัณหา ย่อมเร่ร่อนไปในภพน้อยภพใหญ่ เหมือนวานรอยากได้ผลไม้ เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น

ตัณหาอันชั่วช้า ซ่านไปในโลก ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น เหมือนหญ้าคมบางที่ถูกฝนตกเชยแล้วฉะนั้น

ส่วนผู้ใดครอบงำตัณหาอันชั่วช้านี้ ซึ่งยากที่จะล่วงได้ในโลก ความโศกทั้งหลายย่อมตกไปจากบุคคลนั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากในบัวฉะนั้น

เพราะฉะนั้นเราขอเตือนท่านทั้งหลาย ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายที่มาประชุมกันอยู่ในสมาคมนี้ทั้งหมด

ท่านทั้งหลายจงขุดรากแห่งตัณหา ดุจบุคคลผู้มีความต้องการด้วยแฝก ขุดแฝกอยู่ฉะนั้น

มารอย่าได้ระรานท่านทั้งหลายบ่อยๆ ดังกระแสน้ำพัดพานไม้อ้อฉะนั้น

ท่านทั้งหลายจงทำตามพระพุทธพจน์ ขณะอย่าได้ล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะผู้มีขณะอันล่วงแล้ว ย่อมยัดเยียดกันในนรกเศร้าโศกอยู่

ความประมาทดุจธุลี ธุลีเกิดขึ้นเพราะความประมาท

ท่านทั้งหลายพึงถอนลูกศรอันเสียบอยู่ในหทัยของตน ด้วยความไม่ประมาทและด้วยวิชชาเถิด.

จากมาลุงกยปุตตเถรคาถา
ขุททกนิกาย เถรคาถา

การมีชีวิตอยู่เป็นของประเสริฐ

ข้อความบางส่วน จากอัมพสักขรเปตวัตถุ
ในขุททกนิกาย เปตวัตถุ มหาวรรค
ว่าด้วยพระเจ้าอัมพสักขระทรงสนทนากับเปรตเปลือย
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบนี้ มีร่างกายเปื้อนด้วยเลือดตัวทะลุเป็นช่องๆ ชีวิตของบุรุษนี้จักดับไปในวันนี้พรุ่งนี้เหมือนหยาดน้ำค้างอันติดอยู่บนปลายหญ้า ฉะนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้

เพราะเหตุไร ท่านจึงพูดกะบุรุษผู้ถึงความลำบากอย่างยิ่ง นอนหงายอยู่บนหลาวไม้สะเดาเช่นนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ขอท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด การที่มีชีวิตอยู่เท่านั้นเป็นของประเสริฐ.

บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบนี้ มีร่างกายเปื้อนด้วยเลือดตัวทะลุเป็นช่องๆ ชีวิตของบุรุษนี้จักดับไปในวันนี้พรุ่งนี้เหมือนหยาดน้ำค้างอันติดอยู่บนปลายหญ้า ฉะนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้

เพราะเหตุไร ท่านจึงพูดกะบุรุษผู้ถึงความลำบากอย่างยิ่ง นอนหงายอยู่บนหลาวไม้สะเดาเช่นนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ขอท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด การที่มีชีวิตอยู่เท่านั้นเป็นของประเสริฐ.

เปรตนั้นกราบทูลว่า

ข้าแต่พระราชา บุรุษนี้เป็นสายโลหิตของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ระลึกชาติก่อน ข้าพระองค์เห็นแล้วมีความกรุณาแก่เขาว่าขออย่าให้บุรุษผู้เลวทรามนี้ไปตกนรกเลย

ข้าแต่กษัตริย์ลิจฉวี บุรุษผู้ทำกรรมชั่วนี้ จุติจากอัตภาพนี้แล้ว จักเข้าถึงนรกอันยัดเยียดไปด้วยสัตว์ผู้ทำบาป เป็นสถานร้ายกาจ มีความเร่าร้อนมาก เผ็ดร้อนให้เกิดความน่ากลัว

หลาวนี้ประเสริฐกว่านรกนั้นตั้งหลายพันเท่า ขออย่าให้บุรุษนี้ไปตกนรกอันมีแต่ความทุกข์โดยส่วนเดียว เผ็ดร้อน ให้เกิดความน่ากลัวมีความทุกข์กล้าแข็งอย่างเดียว

บุรุษนี้ฟังคำของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว ประหนึ่งว่าข้าพระองค์น้อมเข้าไปสู่ทุกข์ในนรกนั้น จะพึงสละชีวิตของตนเสีย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จะไม่พูดในที่ใกล้เขา ด้วยหวังว่า ชีวิตของบุรุษนี้อย่าได้ดับไปเสียเพราะคำของข้าพระองค์เลย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงพูดว่า “ขอท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด การมีชีวิตอยู่เป็นของประเสริฐ”.

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
อัมพสักขรเปตวัตถุ อ่านต่อ >>>> คลิกเปิดอ่าน

เมื่อเกิดศรัทธา

กุลบุตรเกิดสัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยหูลง เมื่อเงี่ยหูลงแล้วย่อมฟังธรรม.

ครั้นฟังธรรมแล้วย่อมทรงธรรมไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนซึ่งความพินิจ. เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด

เมื่อเกิดฉันทะแล้วย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้วย่อมไตร่ตรอง.ครั้นไตร่ตรองแล้วย่อมตั้งความเพียร เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งชัดซึ่งปรมัตถสัจจะนั้นด้วยกาย และเห็นแจ้งแทง ตลอดซึ่งปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา ดังนี้.

จากคันถารัมภกถา อรรถกถา ปฏิสัมภิทามรรค

ชฏาสูตร : ใครพึงถางรกชัฏนี้ได้

เทวดา

“หมู่สัตว์รกทั้งภายใน รกทั้งภายนอก ถูกรกชัฏหุ้มห่อแล้ว”
ข้าแต่พระโคดม เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถามพระองค์ว่า ใครพึงถางรกชัฏนี้ได้ ฯ


พระพุทธองค์

“นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอดภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้

ราคะก็ดี โทสะก็ดี อวิชชาก็ดีบุคคลทั้งหลายใด กำจัดเสียแล้ว บุคคลทั้งหลายนั้น เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตัณหาเป็นเครื่องยุ่งอันบุคคลทั้งหลายนั้นสางเสียแล้ว

นามก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญาและรูปสัญญาก็ดี ย่อมดับหมดในที่ใด ตัณหาเป็นเครื่องยุ่งนั้น ย่อมขาดไปในที่นั้น ฯ”

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
จากชฏาสูตร

อนุคคหสูตร : ธรรมเป็นเครื่องอนุเคราะห์ ๕ ประการ

ข้อความจากพระสูตร : อนุคคหสูตร


[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์

องค์ ๕ เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้

สัมมาทิฐิ
๐ อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
๐ อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
๐ อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
๐ อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
๐ อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์

<><><><><><><><><><><><><><><><><><><><>

ข้อความจากอรรถกถา : อรรถกถาอนุคคหสูตรที่ ๕


พึงทราบวินิจฉัยในอนุคคหสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิขั้นวิปัสสนา.

ในบทว่า เจโตวิมุตฺติผลา เป็นต้น สมาธิขั้นมรรคผล ชื่อว่าเจโตวิมุตติ. ผลญาณ ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ.

บทว่า สีลานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันศีลสนับสนุนตามรักษา.

บทว่า สุตานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันพาหุสัจจะสนับสนุน.

บทว่า สากจฺฉานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันธรรมสากัจฉาสนับสนุน.

บทว่า สมถานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันเอกัคคตาจิตสนับสนุน.

แต่เพื่อให้ความนี้แจ่มแจ้ง พึงยกตัวอย่างบุรุษปลูกเมล็ดมะม่วงหวาน ปักเขตไว้โดยรอบรดน้ำตามเวลา ชำระรากตามเวลา นำสัตว์ที่ตกลงไปออกตามเวลา ดึงใยแมลงมุมออกตามเวลา แล้วบำรุงมะม่วง.

สัมมาทิฏฐิขั้นวิปัสสนาพึงเห็นดุจการปลูกเมล็ดมะม่วงหวานของบุรุษนั้น. การที่ศีลสนับสนุนพึงเห็นดุจการปักเขต การที่สุตะสนับสนุนดุจการรดน้ำ. การที่การสนทนาธรรมสนับสนุนก็ดุจการชำระราก. การที่สมถะสนับสนุนด้วยการขจัดอันตรายของญาณและวิปัสสนาดุจการนำสัตว์ออก. การที่วิปัสสนามีกำลังสนับสนุนก็ดุจการดึงใยแมลงมุมออก.

ความที่สัมมาทิฏฐิมีมูลอันคุณมีศีลเป็นต้นเหล่านี้สนับสนุนแล้วจำเริญด้วยทิฏฐิเป็นมรรคแล้ว อำนวยซึ่งเจโตวิมุตติผลและปัญญาวิมุตติผลเร็วพลัน พึงเห็นดุจความที่ต้นไม้อันบุรุษอุดหนุนอย่างนี้เจริญงอกงามแล้วให้ผลเร็วพลัน.

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ภิกษุติดตามไปเบื้องหลังภิกษุสงฆ์ ร้องประกาศว่าแม้เราก็เป็นภิกษุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ลาติดตามไปเบื้องหลังฝูงโค มันร้องว่า แม้เราก็เป็นโค แต่สี เสียงและรอยเท้าของมันหาเหมือนของโคไม่ มันเป็นแต่เดินตามหลังฝูงโคร้องว่า แม้เราก็เป็นโคๆ ดังนี้เท่านั้น แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ติดตามไปเบื้องหลังภิกษุสงฆ์ร้องประกาศว่า แม้เราก็เป็นภิกษุๆ แต่ความพอใจในการสมาทานอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาของเรา หาเหมือนของภิกษุทั้งหลายไม่ เขาเป็นแต่ติดตามไปเบื้องหลังภิกษุสงฆ์ร้องประกาศว่า แม้เราก็เป็นภิกษุๆ ดังนี้เท่านั้น

เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษาว่า
๐ เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิศีลสิกขา
๐ เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิจิตตสิกขา
๐ เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษาเช่นนี้แล ฯ

จากคัทรภสูตร
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ ๔

มนุษย์เป็นอันมากแล ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขา ป่าอารามและรุกขเจดีย์ว่า เป็นที่พึ่ง ที่พึ่งนั้นแลไม่เกษม ที่พึ่งนั้นไม่อุดม เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

ส่วนผู้ใดถึง *พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง* ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ความก้าวล่วงทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อันให้ถึงความสงบระงับทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ ที่พึ่งนั้นแลเป็นที่พึ่งอันเกษม ที่พึ่งนั้นอุดม เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้นย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

จากขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พุทธวรรค
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

โทษของมิฏฐาทิฏฐิ

จากพระสูตร อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกธัมมาทิบาลี

[๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เหมือนกับมิจฉาทิฐินี้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง

[๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป เหมือนกับมิจฉาทิฐินี้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป

[๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งจะมีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฐิเป็นอย่างยิ่ง

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ข้อความจากอรรถกถา

บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิปรมานิ นี้ มีวิเคราะห์ว่า มิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่งของโทษเหล่านั้น เหตุนั้น โทษเหล่านั้น ชื่อว่า มิจฺฉาทิฏฐิปรมานิ โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง.

อธิบายว่า อนันตริยกรรม ๕ ชื่อว่ากรรมมีโทษมาก. มิจฉาทิฏฐิเท่านั้น ชื่อว่ามีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม ๕ แม้เหล่านั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพราะอนันตริยกรรม ๕ นั้นมีเขตกำหนด. ด้วยว่า ท่านกล่าวอนันตริยกรรม ๔ อย่างว่า ให้เกิดในนรก. แม้สังฆเภทก็เป็นกรรมตั้งอยู่ในนรกชั่วกัปเท่านั้น. อนันตริยกรรมเหล่านั้นมีเขตกำหนดที่สุดก็ยังปรากฏด้วยประการอย่างนี้.

ส่วนนิยตมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดอันดิ่ง ไม่มีเขตกำหนด เพราะนิยตมิจฉาทิฏฐินั้นเป็นรากเหง้าของวัฏฏะ. การออกไปจากภพ ย่อมไม่มีสำหรับคนผู้ประกอบด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐินั้น แม้ชนเหล่านั้นก็ย่อมปฏิบัติผิด.

อนึ่ง ทั้งสวรรค์ ทั้งมรรค ย่อมไม่มีแก่คนผู้ประกอบด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐินั้น ในคราวกัปพินาศ เมื่อมหาชนพากันเกิดในพรหมโลก บุคคลผู้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ ไม่เกิดในพรหมโลกนั้น (แต่กลับ) เกิดที่หลังจักรวาล.

ถามว่า ก็หลังจักรวาลไฟไม่ไหม้หรือ.
ตอบว่า ไหม้. บางอาจารย์กล่าวว่า ก็เมื่อหลังจักรวาลแม้ถูกไฟไหม้อยู่ คนผู้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐินี้ ก็ถูกไฟไหม้อยู่ในโอกาสแห่งหนึ่งในอากาศ.

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

หากว่าบุคคลพึงรู้ว่าตนเป็นที่รักไซร้

จากคาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒

หากว่าบุคคลพึงรู้ว่าตนเป็นที่รักไซร้
พึงรักษาตนนั้นไว้ ให้เป็นอัตภาพอันตนรักษาดีแล้ว

บัณฑิตพึงประคับประคองตนไว้ตลอดยามทั้งสาม

***********************************************
บางส่วนจากอรรถกถา อัตตวรรควรรณนา เรื่องโพธิราชกุมาร

พระศาสดาทรงแสดงทำวัยทั้ง ๓ วัยใดวัยหนึ่งให้ชื่อว่า ยาม เพราะความที่พระองค์ทรงเป็นใหญ่ในธรรม และเพราะความที่พระองค์ทรงฉลาดในเทศนาวิธี เพราะเหตุนั้น ในพระคาถานี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า

ถ้าบุคคลทราบตนว่า เป็นที่รัก, พึงรักษาตนนั้น ให้เป็นอันรักษาดีแล้ว คือพึงรักษาตนนั้น โดยประการที่ตนเป็นอันรักษาดีแล้ว

บรรดาชนผู้รักษาตนเหล่านั้น ถ้าผู้เป็นคฤหัสถ์คิดว่า ‘จักรักษาตน’ ดังนี้แล้ว เข้าไปสู่ห้องที่เขาปิดไว้ให้เรียบร้อย เป็นผู้มีอารักขาสมบูรณ์ อยู่บนพื้นปราสาทชั้นบนก็ดี, ผู้เป็นบรรพชิตอยู่ในถ้ำอันปิดเรียบร้อย มีประตูและหน้าต่างอันปิดแล้วก็ดี ยังไม่ชื่อว่ารักษาตนเลย.

แต่ผู้เป็นคฤหัสถ์ “ทำบุญทั้งหลายมีทาน ศีลเป็นต้นตามกำลังอยู่” หรือผู้เป็นบรรพชิต “ถึงความขวนขวายในวัตร ปฏิวัตร ปริยัติ และการทำไว้ในใจอยู่” ชื่อว่าย่อมรักษาตน.

บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อไม่อาจ (ทำ) อย่างนั้นได้ใน ๓ วัย (ต้อง) ประคับประคองตนไว้ แม้ในวัยใดวัยหนึ่งก็ได้เหมือนกัน. ก็ถ้าผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่อาจทำกุศลได้ในปฐมวัย เพราะความเป็นผู้หมกมุ่นอยู่ในการเล่นไซร้, ในมัชฌิมวัยพึงเป็นผู้ไม่ประมาทบำเพ็ญกุศล. ถ้าในมัชฌิมวัย ยังต้องเลี้ยงบุตรและภรรยา ไม่อาจบำเพ็ญกุศลได้ไซร้ ในปัจฉิมวัย พึงบำเพ็ญกุศลให้ได้.

ด้วยอาการแม้อย่างนี้ ตนต้องเป็นอันเขาประคับประคองแล้วทีเดียว. แต่เมื่อเขาไม่ทำอย่างนั้น ตนย่อมชื่อว่า ไม่เป็นที่รัก. ผู้นั้น (เท่ากับ) ทำตนนั้นให้มีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้าทีเดียว.

ก็ถ้าว่า บรรพชิต ในปฐมวัยทำการสาธยายอยู่ ทรงจำ บอก ทำวัตรและปฏิวัตรอยู่ ชื่อว่าถึงความประมาท, ในมัชฌิมวัย พึงเป็นผู้ไม่ประมาท บำเพ็ญสมณธรรม.

อนึ่ง ถ้ายังสอบถามอรรถกถาและวินิจฉัย และเหตุแห่งพระปริยัติอันตนเรียนแล้วในปฐมวัยอยู่ ชื่อว่าถึงความประมาท ในมัชฌิมวัย. ในปัจฉิมวัย พึงเป็นผู้ไม่ประมาทบำเพ็ญสมณธรรม.

ด้วยอาการแม้อย่างนี้ ตนย่อมเป็นอันบรรพชิตนั้น ประคับประคองแล้วทีเดียว. แต่เมื่อไม่ทำอย่างนั้น ตนย่อมชื่อว่า ไม่เป็นที่รัก, บรรพชิตนั้น (เท่ากับ) ทำตนนั้นให้เดือดร้อน ด้วยการตามเดือดร้อนในภายหลังแท้.

ในกาลจบเทศนา โพธิราชกุมารตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว

พระธรรมเทศนาได้สำเร็จประโยชน์ แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ว่าด้วย เหตุให้เกิดความรัก

อะไรหนอแลเป็นเหตุให้

๐ บุคคลบางคนในโลกนี้ พอเห็นกันเข้าเท่านั้น หัวใจก็สงบนิ่งสนิท คือเยือกเย็นดังเอาน้ำหอมพันหม้อมารด บางคนไม่สงบ

๐ บางคนพอเห็นกันเข้าเท่านั้นก็มีจิตผ่องใส อ่อนละมุนละไม เยื่อใยต่อกัน ด้วยอำนาจความรัก บางคนก็ไม่เยื่อใยต่อกัน.

ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุสองประการ คือ

๐ ด้วยการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑

๐ ด้วยความเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบัน ๑

เหมือนดอกอุบลเมื่อเกิดในน้ำ ย่อมเกิดเพราะอาศัยเหตุสองประการ คือ “น้ำและเปือกตม” ฉะนั้น.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมดา ความรักนี้ย่อมเกิดด้วยเหตุสองประการ คือได้เป็นมารดาบิดา ธิดาบุตร พี่น้องชายพี่น้องหญิง สามีภรรยา หรือสหายมิตรกันในภพก่อน เคยอยู่ร่วมที่เคียงกันมา ความรักนั้นย่อมไม่ละ คงติดตามไปแม้ในภพอื่น เพราะการอยู่ร่วมกันในกาลก่อนอย่างหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง ความรักนั้นย่อมเกิดเพราะความเกื้อกูลกันในปัจจุบันอันได้ทำในอัตภาพนี้.

ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุสองประการฉะนี้ เปรียบเหมือนอุบลในน้ำฉะนั้น คือเหมือนอุบลและบุปผชาติที่เกิดในน้ำต่างๆ เกิดในน้ำ ก็ได้อาศัยเหตุสองอย่าง คือน้ำและเปือกตมฉันใด ความรักก็ย่อมเกิดด้วยเหตุสองประการนี้ฉะนั้น

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
จากอรรถกถา สาเกตชาดก : ว่าด้วย เหตุให้เกิดความรัก

ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ ไว้ในใจโดยแยบคาย

ข้อความบางส่วนจาก สีลสูตร (สีลวันตสูตร)
พระมหาโกฏฐิตะสนทนาธรรมกับพระสารีบุตร
*******************************************

ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้มีศีลควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล “ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวนเป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน”

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ
อุปาทานขันธ์ คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์ คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ ๑.

ดูกรท่านโกฏฐิตะ
ภิกษุผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็น ดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของไม่ใช่ตัวตน.

ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้มีศีล กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล


ข้อความจากอรรถกถา

**********************

อุปาทานขันธ์ ๕

๐ ภิกษุพึงใส่ใจว่าไม่เที่ยง โดยอาการที่มีแล้วกลับไม่มี (เกิดแล้วดับ)
๐ พึงใส่ใจว่าเป็นทุกข์ โดยอาการที่เบียดเบียน บีบคั้น
๐ พึงใส่ใจว่าเป็นโรค เพราะหมายความว่าเจ็บป่วย
๐ พึงใส่ใจว่าเป็นฝี เพราะหมายความว่าเสียอยู่ข้างใน
๐ พึงใส่ใจว่าเชือดเฉือน เพราะเป็นปัจจัยของฝีเหล่านั้น หรือเพราะหมายความว่า ขุด
๐ พึงใส่ใจว่าโดยยาก เพราะหมายความเป็นทุกข์
๐ พึงใส่ใจว่าเป็นผู้เบียดเบียน เพราะหมายความว่าเป็นปัจจัยให้เกิดอาพาธอันมีมหาภูตรูปที่เป็นวิสภาคกันเป็นสมุฏฐาน
๐ พึงใส่ใจว่าเป็นอื่น เพราะหมายความว่าไม่ใช่ของตน
๐ พึงใส่ใจว่าทรุดโทรม เพราะหมายความว่าย่อยยับ
๐ พึงใส่ใจว่าว่าง เพราะหมายความว่าว่างจากสัตว์
๐ พึงใส่ใจว่า เป็นอนัตตา เพราะไม่มีอัตตา.

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

รักกันอยู่ไกลก็เหมือนอยู่ใกล้

ข้อความบางส่วนที่พระโพธิสัตว์กล่าวกับพระราชา
ในอรรถกถา : ชวนหังสชาดก
ว่าด้วย รักกันอยู่ไกลก็เหมือนอยู่ใกล้
******************************************

ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอกทั้งหลายก็ดี ของนกทั้งหลายก็ดี รู้ได้ง่าย แต่เสียงของมนุษย์รู้ได้ยากกว่านั้น.

อนึ่ง ผู้ใดเมื่อก่อนเป็นผู้ใจดี คนทั้งหลายนับถือว่าเป็นญาติ เป็นมิตร หรือเป็นสหาย ภายหลังผู้นั้นกลับกลายเป็นศัตรูไปก็ได้ ใจของมนุษย์รู้ได้ยากอย่างนี้.

ใจจดจ่ออยู่ในบุคคลใด แม้บุคคลนั้นจะอยู่ไกลก็เหมือนกับอยู่ใกล้ ใจเหินห่างจากบุคคลใด แม้บุคคลนั้นจะอยู่ใกล้ก็เหมือนกับอยู่ไกล.

ถ้ามีจิตเลื่อมใสรักใคร่กัน ถึงแม้จะอยู่กันคนละฝั่งสมุทรก็เหมือนอยู่ใกล้ชิดกัน ถ้ามีจิตประทุษร้ายกัน ถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดกัน ก็เหมือนกับอยู่คนละฝั่งสมุทร.

ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ คนที่เป็นศัตรูกันถึงจะอยู่ร่วมกันก็เหมือนกับอยู่ห่างไกลกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมิ่งขวัญแห่งรัฐ คนที่รักกันถึงแม้จะอยู่ห่างไกลกัน ก็เหมือนกับอยู่ร่วมกันด้วยหัวใจ.

ด้วยการอยู่ร่วมกันนานเกินควร คนรักกันย่อมกลายเป็นคนไม่รักกันก็ได้ ข้าพระองค์ขอทูลลาพระองค์ไป ก่อนที่ข้าพระองค์จะกลายเป็นผู้ไม่เป็นที่รักของพระองค์.

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

สิ่งที่ควรกล่าว สิ่งที่ไม่ควรกล่าว

ดูกรพราหมณ์
๐ เราไม่กล่าวสิ่งที่เห็นทั้งหมดว่าควรกล่าว และไม่กล่าวสิ่งที่เห็นทั้งหมดว่า ไม่ควรกล่าว

๐ เราไม่กล่าวสิ่งที่ได้ฟังทั้งหมดว่า ควรกล่าว และไม่กล่าวสิ่งที่ได้ฟังทั้งหมดว่า ไม่ควรกล่าว

๐ เราไม่กล่าวสิ่งที่ทราบทั้งหมดว่า ควรกล่าว และไม่กล่าวสิ่งที่ทราบทั้งหมดว่า ไม่ควรกล่าว

๐ เราไม่กล่าวสิ่งที่รู้แจ้งทั้งหมดว่า ควรกล่าว และไม่กล่าวสิ่งที่รู้แจ้งทั้งหมดว่า ไม่ควรกล่าว

ดูกรพราหมณ์
๐ แท้จริง เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้เห็นอันใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรากล่าวสิ่งที่ได้เห็นเห็นปานนั้นว่า ไม่ควรกล่าว

๐ แต่เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้เห็นอันใด อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้นเรากล่าวสิ่งที่ได้เห็นเห็นปานนั้นว่า ควรกล่าว

๐ ดูกรพราหมณ์ เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้ฟังมาอันใด … สิ่งที่ได้ทราบอันใด … สิ่งที่รู้แจ้งมาอันใด อกุศลธรรมเจริญขึ้นกุศลธรรมเสื่อมไป เรากล่าวสิ่งที่ได้ฟังมาเห็นปานนั้น … สิ่งที่ได้ทราบมาเห็นปานนั้น … สิ่งที่รู้แจ้งเห็นปานนั้นว่า ไม่ควรกล่าว

๐ แต่เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้ฟังมาอันใด … สิ่งที่ได้ทราบมาอันใด … สิ่งที่รู้แจ้งอันใด อกุศลธรรมเสื่อมไปกุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวสิ่งที่ได้ฟังมาเห็นปานนั้น … สิ่งที่ได้ทราบมาเห็นปานนั้น … สิ่งที่รู้แจ้งเห็นปานนั้นว่า ควรกล่าว

โยธาชีววรรค
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา

อย่าเลยวักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร

ดูกรวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม. วักกลิ เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม.

จากวักกลิสูตร
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

อย่าเลยวักกลิ ประโยชน์อะไรในรูปที่น่าเกลียดซึ่งชนพาลชอบเล่า

ก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรม บัณฑิตนั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ไม่เห็นสัทธรรมถึงจะเห็นเราก็ชื่อว่าไม่เห็น

กายมีโทษไม่สิ้นสุด เปรียบเสมอด้วยต้นไม้มีพิษ เป็นที่อยู่ของโรคทุกอย่าง ล้วนเป็นที่ประชุมของทุกข์เพราะฉะนั้น ท่านจงเบื่อหน่ายในรูป พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย จักถึงที่สุดแห่งสรรพกิเลสได้โดยง่าย

จากวักกลิเถราปทาน
ขุททกนิกาย อปทาน
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

อัจฉราสูตร : ราชรถสู่พระนิพพาน

จากพระสูตร
***********

ข้อความจาก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
อัจฉราสูตรที่ ๖

เทวดาทูลถามว่า
ป่าชัฏชื่อโมหนะ อันหมู่นางอัปสรประโคมแล้ว อันหมู่ปีศาจสิงอยู่แล้ว ทำไฉนจึงจะหนีไปได้ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

ทางนั้นชื่อว่าเป็นทางตรง ทิศนั้นชื่อว่าไม่มีภัย รถชื่อว่าไม่มีเสียงดัง

ประกอบด้วยล้อคือธรรม หิริเป็นฝาของรถนั้น สติเป็นเกราะกั้นของรถนั้น

เรากล่าวธรรมมีสัมมาทิฏฐินำหน้าว่าเป็นสารถี

ยานชนิดนี้มีอยู่แก่ผู้ใด จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เขา (ย่อมไป) ในสำนักพระนิพพานด้วยยาน นี้แหละ ฯ

………………………………………………….

จากอรรถกถา : อัจฉราสูตรที่ ๖
************************

๐ ทางตรง
มรรคประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่าทางตรง เพราะความที่ทางนั้นไม่มีการคดทั้งหลายมีการคดทางกาย เป็นต้น

๐ ทิศนั้นชื่อว่าไม่มีภัย
บทว่า อภยา นาม สาทิสา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพระนิพพาน.

จริงอยู่ ในพระนิพพานนั้น ภัยอะไรๆ ก็ไม่มี หรือว่าภัยนั้น ย่อมไม่มีแก่ผู้ถึงพระนิพพานแล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อภยา นาม สาทิสา แปลว่า ทิศนั้นชื่อว่าไม่มีภัย.

๐ รถชื่อว่าไม่มีเสียงดัง
เมื่อเพลาแห่งรถไม่มีน้ำมันหยอด หรือว่าเมื่อคนขึ้นมากเกินไป ธรรมดารถก็ต้องมีเสียงดัง คือย่อมส่งเสียงดังฉันใด รถคืออริยมรรคฉันนั้น หามิได้.

จริงอยู่ รถคืออริยมรรคนั้นแม้สัตว์ตั้งแปดหมื่นสี่พันขึ้นอยู่โดยการนำไปคราวเดียวกัน ย่อมไม่ดัง ย่อมไม่ส่งเสียง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อกุชฺชโน แปลว่า ไม่มีเสียงดัง.

๐ ล้อคือธรรม
ประกอบพร้อมแล้วด้วยล้อคือธรรมทั้งหลาย กล่าวคือความเพียรอันเป็นไปทางกายและทางใจ.

๐ หิริเป็นฝาของรถนั้น
เมื่อนักรบทั้งหลายยืนอยู่บนรถอันมีในภายนอก ย่อมมีฝาที่ทำด้วยไม้เพื่อต้องการแก่อันมิให้ตกไปฉันใด หิริแลโอตตัปปะแห่งรถคือมรรคนี้อันมีทั้งภายในและภายนอกเป็นสมุฏฐาน เป็นเครื่องป้องกันฉันนั้น.

๐ สติเป็นเกราะกั้น
“สติอันสัมปยุตด้วยรถคือมรรค” แม้นี้เป็นเกราะกำบัง ราวกะรถของนักรบที่หุ้มด้วยวัตถุทั้งหลายมีหนังสีหะเป็นต้น.

๐ ธรรมมีสัมมาทิฏฐินำหน้าว่าเป็นสารถี
ธมฺมํ ได้แก่ โลกกุตรมรรค. สัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนานำหน้าไป คือเป็นเครื่องดำเนินไปก่อน (เป็นประธาน) แห่งมรรคนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น มรรคนั้นจึงชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐินำหน้า.

ธรรมมีสัมมาทิฏฐินำหน้านั้น คือเหมือนอย่างว่า เมื่อราชบุรุษทั้งหลายทำหนทางให้สะอาดโดยการนำชนทั้งหลายมีคนบอดคนง่อยเป็นต้นออกไปก่อน แล้วพระราชาจึงเสด็จมาในภายหลังฉันใด ครั้นเมื่อธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้นอันสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาชำระให้หมดจดแล้วด้วยสามารถแห่งความเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น สัมมาทิฏฐิแห่งมรรคอันกำหนดรู้อยู่ซึ่งวัฏฏะได้แล้วในภูมิ จึงเกิดขึ้นในภายหลังฉันนั้นนั่นแหละ.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ธมฺมาหํ สารถึ พฺรูมิ สมฺมาทิฏฺฐิปุเร ชวํ” แปลว่า เรากล่าวธรรมมีสัมมาทิฏฐินำหน้าว่า เป็นสารถี.

องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ อย่าง

องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ฯ

๒. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยเตโชธาตุอันมีวิบากเสมอกัน ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นอย่างกลางๆ ควรแก่ความเพียร ฯ

๓. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริงในพระศาสดา หรือสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ฯ

๔. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อจะละอกุศลธรรมเพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังใจ มีความบากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระในบรรดาธรรมที่เป็นกุศล ฯ

๕. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นเกิดและดับ เป็นปัญญาอย่างประเสริฐ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ฯ

จากพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๒๙๓
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

โดยสรุป องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ อย่าง

๑. ศรัทธาในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
๒. มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย (ร่างกายแข็งแรง)
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลและทำกุศล
๕. เป็นผู้มีปัญญา เห็นเกิดและดับ

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

พิจารณาด้วยปัญญาแล้วฉันอาหาร

จากขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ : ๑๔.ตุวฏกสุตตนิทเทส

[๗๓๔] ชื่อว่า รส ในคำว่า ไม่พึงติดใจในรส ได้แก่รสที่ราก รสที่ลำต้น รสที่เปลือก รสที่ใบ รสที่ดอก รสที่ผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ดร้อน รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฟาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน.

มีสมณพราหมณ์บางพวก ติดใจในรส เที่ยวแสวงหารสอันเลิศด้วยปลายลิ้น. ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสเปรี้ยว ฯลฯ ได้รสเย็นแล้วก็แสวงหารสร้อน ได้รสร้อนแล้วก็แสวงหารสเย็น.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ได้รสใดๆ แล้วย่อมไม่พอใจด้วยรสนั้นๆ ย่อมเที่ยวแสวงหารสอื่นๆเป็นผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ หลงไหล เกี่ยวข้อง พัวพัน ในรสที่ชอบใจ. ความอยากในรสนั้น อันภิกษุใดละ ตัดขาด ฯลฯ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

ภิกษุนั้นพิจารณาด้วยปัญญาแล้วย่อมฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมา ไม่ฉันเพื่อตบแต่ง ไม่ฉันเพื่อประดับ ฉันเพื่อดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้น ฯลฯ ความอยู่สบายของเราจักมีด้วยอุบายดังนี้.

บุคคลทาแผลเพื่อให้แผลหายหยอดน้ำมันเพลาเกวียนเพื่อจะขนภาระ กินเนื้อบุตรเพื่อจะออกจากทางกันดาร อย่างเดียวเท่านั้นฉันใด ภิกษุพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว จึงฉันอาหาร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ฉันเพื่อเล่น ฯลฯความไม่มีโทษและความอยู่สบายจักมีด้วยอุบายดังนี้ภิกษุพึงละ บรรเลา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความอยากในรส คือ เป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความอยากในรส พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงติดใจในรส.

<><><><><><><><><><><><><><>
<><><><><><><><><><><><><><>

ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง (นิพพาน)

ปารสูตร : ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง (นิพพาน)

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง (นิพพาน) จากที่มิใช่ฝั่ง (วัฏฏะ)

ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ ธรรม ๘ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง.

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ในพวกมนุษย์ ชนที่ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย แต่หมู่สัตว์นอกนี้ ย่อมวิ่งไปตามฝั่งนั่นเอง ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ชนเหล่านั้นข้ามบ่วงมฤตยูซึ่งแสนยากที่จะข้ามไปถึงฝั่งได้

บัณฑิตพึงละธรรมฝ่ายดำเสียเจริญธรรมฝ่ายขาว ออกจากความอาลัย อาศัยธรรมอันไม่มีความอาลัยแล้ว พึงละกามเสีย เป็นผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล ปรารถนาความยินดีในวิเวก ที่สัตว์ยินดีได้ยากบัณฑิตพึงยังตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่องเศร้าหมองจิต ชนเหล่าใดอบรมจิตดีแล้วโดยชอบในองค์เป็นเหตุให้ตรัสรู้ ไม่ถือมั่น ยินดีแล้วในความสละคืนความถือมั่น ชนเหล่านั้นเป็นผู้สิ้นอาสวะ มีความรุ่งเรืองปรินิพพานแล้วในโลกนี้.

<><><><><><><><><><><><><><><>
<><><><><><><><><><><><><><><>

ธรรมเครื่องรองรับจิต

กุมภสูตร : ธรรมเครื่องรองรับจิต

[๗๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก.

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเครื่องรองรับจิต อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เป็นเครื่องรองรับจิต.

[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่ายที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก.

<><><><><><><><><><><><><>
<><><><><><><><><><><><><>

ธัมมปทัฏฐกถา ในอรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

คำกล่าวนมัสการของพระอรรถกถาจารย์

ธัมมปทัฏฐกถา
ในอรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

คำนมัสการ

ข้าพเจ้า (๑-) อันพระกุมารกัสสปเถระ (๒-) ผู้ฝึกตนเรียบร้อยแล้ว ประพฤติสม่ำเสมอโดยปกติ มีจิตมั่นคง ใคร่ความดำรงมั่นแห่งพระ สัทธรรม หวังอยู่ว่า

“พระอรรถกถา อันพรรณนาอรรถแห่งพระธรรม บทอันงาม ที่พระศาสดาผู้ฉลาดในสภาพที่เป็นธรรม และมิใช่ธรรม มีบท คือพระสัทธรรมถึงพร้อมแล้ว มีพระอัธยาศัย อันกำลังแห่งพระกรุณาให้อุตสาหะด้วยดีแล้ว ทรงอาศัยเหตุนั้นๆ แสดงแล้ว เป็นเครื่อง เจริญปีติปราโมทย์ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นคำที่สุขุม ละเอียด นำสืบๆ กันมา ตั้งอยู่แล้วในตามพปัณณิทวีป (๓-) โดยภาษา ของชาวเกาะ ยังไม่ทำความถึงพร้อมแห่งประโยชน์ ให้สำเร็จแก่ สัตว์ทั้งหลายที่เหลือได้. ไฉนพระอรรถกถาแห่งพระธรรมบทนั้นจะ ทำประโยชน์ให้สำเร็จแก่โลกทั้งปวงได้” ดังนี้

อาราธนาโดยเคารพแล้ว จึงขอนมัสการพระบาทแห่งพระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงสิริ ทรงแลเห็นที่สุดโลกได้ มีพระฤทธิ์รุ่งโรจน์ ทรงยังประทีป คือพระสัทธรรมให้รุ่งโรจน์ ในเมื่อโลกอันมืด คือโมหะใหญ่ปกคลุมแล้ว,

บูชาพระสัทธรรมแห่งพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น และทำอัญชลีแด่พระสงฆ์แห่งพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว

จักกล่าวอรรถกถาอันพรรณนาแห่งพระธรรมบทนั้น ด้วยภาษาอื่นโดยอรรถไม่ให้เหลือเลย ละภาษานั้น และลำดับคำ อันถึงพิสดารเกินเสีย ยกขึ้นสู่ภาษา อันเป็นแบบที่ไพเราะ (๔-) อธิบายบทพยัญชนะแห่งคาถาทั้งหลาย ที่ท่านยังมิได้ อธิบายไว้แล้วในอรรถกถานั้นให้สิ้นเชิง นำมาซึ่งปีติปราโมทย์แห่ง ใจ อิงอาศัยอรรถและธรรมแก่นักปราชญ์ทั้งหลาย.
——————————————————
(๑-) พระพุทธโฆษาจารย์
(๒-) เป็นนามพระสังฆเถระองค์หนึ่งในสมัยพระพุทธโฆษาจารย์ ไม่ใช่พระกุมารกัสสปในสมัยพุทธกาล.
(๓-) เกาะเป็นที่อยู่ของชาวชนที่มีฝ่ามือแดง คือ เกาะลังกา [Ceylon].
(๔-) มโนรมํ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=1
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีไม่เคยทูลถามปัญหาต่อพระศาสดา ด้วยความรักในพระศาสดา

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีไม่เคยทูลถามปัญหาต่อพระศาสดา ด้วยความรักในพระศาสดา เกรงว่าพระองค์จะทรงลำบาก

ข้อความจากอรรถกถา คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑ เรื่องพระจักขุปาลเถระ
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

เศรษฐีไม่เคยทูลถามปัญหา

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีไม่เคยทูลถามปัญหาต่อพระศาสดา จนวันเดียว.

ได้ยินว่า ท่านคิดว่า “พระตถาคตเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า ผู้ละเอียดอ่อน เป็นกษัตริย์ผู้ละเอียดอ่อน เมื่อทรงแสดงธรรมแก่เรา ด้วยทรงพระดำริว่า ‘คฤหบดีมีอุปการะแก่เรามาก’ ดังนี้ จะทรงลำบาก” แล้วไม่ทูลถามปัญหาด้วยความรักในพระศาสดาเป็นอย่างยิ่ง.

ฝ่ายพระศาสดา พอท่านเศรษฐีนั่งแล้ว ทรงพระพุทธดำริว่า

เศรษฐีผู้นี้รักษาเราในที่ไม่ควรรักษา, เหตุว่า เราได้ตัดศีรษะของเราอันประดับประดาแล้ว ควักดวงตาของเราออกแล้ว ชำแหละเนื้อหัวใจของเราแล้ว สละลูกเมียผู้เป็นที่รักเสมอด้วยชีวิตของเราแล้ว บำเพ็ญบารมีอยู่ ๔ อสงไขยกับแสนกัลป์ ก็บำเพ็ญแล้วเพื่อแสดงธรรมแก่ผู้อื่นเท่านั้น เศรษฐีนี่รักษาเราในที่ไม่ควรรักษา

(ครั้นทรงพุทธดำริ) ฉะนี้แล้ว ก็ตรัสพระธรรมเทศนากัณฑ์หนึ่งเสมอ.

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

เมื่อเดินอยู่ก็รู้ว่าเดินอยู่ ที่ถอนอัตตสัญญา

จากหนังสือ มหาสติปัฏฐาน โดยพระมหาสีสยาดอ

เมื่อเดินอยู่ ย่อมรู้ว่าเดินอยู่

พระพุทธดำรัสว่า “เมื่อเดินอยู่ ย่อมรู้ว่าเดินอยู่” แสดงถึงการรับรู้สภาวะเดิน ที่เป็นการยกย่างและเหยียบ ซึ่งเกิดในปัจจุบันขณะ โดยปราศจากตัวตน เรา ของเรา

ความจริงแล้วคนทั่วไปที่มิได้เจริญสติปัฏฐาน หรือแม้แต่สัตว์ดิรัจฉาน เช่น สุนัขบ้าน สุนัขป่า เป็นต้น ก็รู้ตัวว่าเดิน แต่รับรู้ในลักษณะอัตตาตัวตน เป็นเราที่เดินอยู่ การเดินมีความเที่ยงไม่แปรปรวน เพราะกิริยาเดินดำรงอยู่เหมือนเดิม มิได้ปรากฏความเป็นสภาวธรรม คือ รูปที่กำลังเคลื่อนไหว จิตที่รับรู้สภาวะเคลื่อนไหว และสภาวะเกิดดับของรูปที่เคลื่อนไหวพร้อมทั้งจิตที่กำหนดรู้

ความรู้สึกของคนทั่วไป และสัตว์ดิรัจฉานจึงมีอัตตสัญญา คือ ความสำคัญว่าเป็นตัวตน ความรู้สึกดังกล่าวไม่ใช่กรรมฐาน ในความหมายที่ว่า “ที่ตั้งแห่งการเจริญภาวนา” เพราะไม่จัดเป็นวิปัสสนาที่หยั่งเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง และไม่ใช่กรรมฐานในความหมายว่า “การเจริญภาวนาที่เป็นเหตุใกล้แห่งภาวนายิ่งๆ ขึ้นไป” เพราะไม่ก่อให้เกิดวิปัสสนาญาณขั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ


**************************************************************

จากอรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=131&p=3

ความรู้ที่เป็นสติปัฏฐานภาวนา

ถึงสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอก เมื่อเดินไปก็รู้โดยแท้ว่า เรากำลังเดิน. แต่การรู้นั่น พระองค์มิได้ตรัสหมายเอาการรู้แบบนี้. เพราะว่าการรู้แบบนี้ ละสัตตูปลัทธิ (การยึดถือว่าเป็นสัตว์) ไม่ได้. ถอนอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นอัตตา) ไม่ออก. ไม่เป็นกรรมฐาน หรือสติปัฏฐานภาวนา.

แต่การรู้ของภิกษุนี้ ละสัตตูปลัทธิได้ ถอนอัตตสัญญาได้ เป็นกรรมฐาน หรือเป็นสติปัฏฐานภาวนา.

ความจริง การรู้นี้ พระองค์ตรัสหมายเอาการรู้สึกตัวอย่างนี้ว่า ใครเดิน? การเดินของใคร? เดินเพราะเหตุอะไร? ถึงในการยืนก็นัยนี้เหมือนกัน.

ใครเดิน ความว่า ไม่ใช่สัตว์ตัวไหนหรือคนคนไหนเดิน.
การเดินของใคร ความว่า ไม่มีการเดินของสัตว์ตัวไหน
เดินเพราะเหตุอะไร ความว่า เดินไป โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต

**************************************************************

อันมีประโยชน์เกื้อกูลแม้น้อย แต่เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม

หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมี ประโยชน์เกื้อกูลแม้มาก (แต่) เป็นผู้ประมาทแล้วไม่ทำ (ตาม) พระพุทธพจน์นั้นไซร้ เขาย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล เหมือนคนเลี้ยงโคนับโคทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มีส่วนแห่งปัญจโครสฉะนั้น

หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูลแม้น้อย (แต่) เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้ เขาละราคะโทสะและโมหะแล้ว รู้ชอบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้วหมดความยึดถือในโลกนี้หรือในโลกหน้า เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล

จากอรรถกถา คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑
<><><><><><><><><><><>><><><><><><>

สามัญผล = ผลแห่งความเป็นสมณะ
ปัญจโครส = ของ ๕ อย่างที่เกิดจากโค คือนมสด นมส้ม เปรียง๑ เนยข้น เนยใส.
<><><><><><><><><><><>><><><><><><>

บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอด

ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อมด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้

ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม เป็น ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอด

เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า

“เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้”

จากมหาปรินิพพานสูตร

ธรรม ๔ ประการ ไม่มีผู้ใดรับรองได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครๆ จะเป็นสมณะพราหมณ์ เทวดา มารพรหม หรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ที่จะรับรองธรรม ๔ ประการได้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

๐ ไม่มีใครๆ … ที่จะรับรองว่า สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่

๐ ไม่มีใครๆ … ที่จะรับรองว่า สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้

๐ ไม่มีใครๆ … ที่จะรับรองว่า สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตาย

๐ อนึ่ง ไม่มีใครๆ … ที่จะรับรองว่า วิบากแห่งกรรมอันลามก เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชราและมรณะต่อไป อย่าบังเกิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครๆ จะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือผู้หนึ่งผู้ใดในโลก ที่จะรับรองธรรม ๔ ประการนี้แล

จากโยธาชีววรรค [อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต]

สัทธรรมสัมโมสสูตร : ความลบเลือนเสื่อมสูญ และความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๐ ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ ๑
๐ ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑
๐ ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑
๐ ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๑
๐ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๐ ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ ๑
๐ เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑
๐ ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑
๐ ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๑
๐ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ

สัทธรรมสัมโมสสูตร

ความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม

 

ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ

[๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้
๐ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑
๐ ในพระธรรม ๑
๐ ในพระสงฆ์ ๑
๐ ในสิกขา ๑
๐ ในสมาธิ๑

เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

[๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้
๐ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑
๐ ในพระธรรม ๑
๐ ในพระสงฆ์ ๑
๐ ในสิกขา ๑
๐ ในสมาธิ๑

เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือนไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ
 
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
จาก สัทธรรมปฏิรูปกสูตร : >>> เปิดอ่าน
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

อักขณสูตร : ชนเหล่าใด ไม่เข้าถึงขณะ ชื่อว่า ล่วงขณะ

ชนเหล่าใด เกิดในมนุษยโลกแล้ว เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรม “ไม่เข้าถึงขณะ” ชนเหล่านั้นชื่อว่า “ล่วงขณะ” ชนเป็นอันมาก กล่าวเวลาที่เสียไปว่า กระทำอันตรายแก่ตน

๐ พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในกาลบางครั้งบางคราวการที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๑
๐ การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑
๐ การแสดงสัทธรรม ๑
ที่จะพร้อมกันเข้าได้ หาได้ยากในโลก

ชนผู้ใคร่ต่อประโยชน์ จึงควรพยายามในกาลดังกล่าวมานั้น ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้ ขณะ อย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะบุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงไปพากันยัดเยียดในนรก ย่อมเศร้าโศกอยู่ หากเขาจะไม่สำเร็จอริยมรรค อันเป็นธรรมตรงต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้ เขาผู้มีประโยชน์อันล่วงเสียแล้ว จักเดือดร้อนสิ้นกาลนาน เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยให้ประโยชน์ล่วงไป เดือดร้อนอยู่ ฉะนั้น

คนผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรมจักเสวยแต่สงสาร คือ ชาติและมรณะสิ้นกาลนาน

ส่วนชนเหล่าใดได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อพระตถาคตประกาศสัทธรรม ได้กระทำแล้ว จักกระทำ หรือกระทำอยู่ ตามพระดำรัสของพระศาสดา ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ประสบขณะคือ การประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก

ชนเหล่าใดดำเนินไปตามมรรคา ที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้วสำรวมในศีลสังวรที่พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้ว คุ้มครองอินทรีย์ มีสติทุกเมื่อ ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ตัดอนุสัยทั้งปวงอันแล่นไปตามกระแสบ่วงมาร ชนเหล่านั้นแล บรรลุความสิ้นอาสวะถึงฝั่ง คือ นิพพานในโลกแล้ว

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
เปิดอ่าน >> อักขณสูตร
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ชนเหล่าใดรู้ธรรมอันเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ

ชนเหล่าใดมีความรู้ในธรรมอันหาสาระมิได้ว่าเป็นสาระ
และมีปกติเห็นในธรรมอันเป็นสาระ ว่าไม่เป็นสาระ
ชนเหล่านั้นมีความดำริผิดเป็นโคจร
ย่อมไม่บรรลุธรรมอันเป็นสาระ

ชนเหล่าใดรู้ธรรมอันเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ
และรู้ธรรมอันหาสาระมิได้ โดยความเป็นธรรมอันหาสาระมิได้
ชนเหล่านั้นมีความดำริชอบเป็นโคจร
ย่อมบรรลุธรรมอันเป็นสาระ

จากคาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑

น้ำตาที่หลั่งเพราะความเศร้าโศก ยังมากกว่าน้ำของมหาสมุทรทั้งสี่

ดูก่อนปฏาจารา เจ้าอย่าคิดไปเลย เจ้ามาหาเราซึ่งสามารถจะเป็นที่พึ่งของเจ้าได้

ก็บัดนี้เจ้าหลั่งน้ำตา เพราะความตายของลูก เป็นต้น เป็นเหตุฉันใด ในสังสารวัฏที่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้วก็ฉันนั้น น้ำตาที่หลั่งเพราะความตายของลูกเป็นต้นเป็นเหตุยังมากกว่าน้ำของมหาสมุทรทั้งสี่อีก.

เมื่อทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาว่า

น้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ยังมีปริมาณน้อย ความ เศร้าโศกของนรชนผู้ถูกทุกข์กระทบแล้ว น้ำของน้ำตามิใช่น้อย มีปริมาณมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ นั้นเสียอีก แม่เอย เหตุไร เจ้าจึงยังประมาทอยู่เล่า.

จากอรรถกถาปฏาจาราเถรีคาถา

จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ เหมือนจิต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ เหมือนจิต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้

อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกธัมมาทิบาลี
อกัมมนิยวรรคที่ ๓

เมื่อมีทางตรงพระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้แล้ว

เมื่อมีทางตรงพระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้แล้ว
ขอท่านทั้งหลายจงดำเนินไปเถิด อย่าพากันกลับ
จงตักเตือนตนด้วยตนเอง พึงน้อมตนเข้าไปสู่นิพพาน

จากโสณโกฬิวิสเถรคาถา

จงเจริญภาวนา (อบรมจิต) เสมอด้วยแผ่นดินเถิด

ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนา (อบรมจิต) เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้างมูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินฉันนั้นแล

เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

จากมหาราหุโลวาทสูตร

จงตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ จงตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ

พ ดูกรโสณะ ก็สมัยใด สายพิณของเธอไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ตั้งอยู่ในขนาดกลาง สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะ หรือย่อมควร แก่การใช้หรือไม่ ฯ

ส. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรโสณะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความเพียรที่ปรารภมากเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่หย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความ เกียจคร้าน

ดูกรโสณะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ จงตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และจงถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น

จากโสณสูตร

อย่างไรจึงชื่อว่า มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง

ดูกรอานนท์ อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่า มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นผู้มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก

อย่างนี้แลอานนท์ ภิกษุจึงจะชื่อว่า มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่

ดูกรอานนท์ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี โดยที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุของเราที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาจักปรากฏอยู่ในความเป็นยอดยิ่ง

มหาปรินิพพานสูตร

ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว

ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเอง
ไม่ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมหมดจดด้วยตนเอง
ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว
คนอื่นพึงชำระคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่

คาถาธรรมบท อัตตวรรค

ปัญญาย่อมเกิดเพราะความเพียร

โยคา เว ชายเต ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย
เอตํ ทฺวธาปถํ ญตฺวา ภวาย วิภวาย จ
ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.

ปัญญาย่อมเกิดเพราะความเพียร
เสื่อมไปเพราะไม่พากเพียร
เมื่อรู้ทางเจริญและทางเสื่อมของปัญญาแล้ว
พึงบำเพ็ญตนในวิถีทางที่ปัญญาจะเจริญ


(ขุ.ธ.๒๕.๒๘๒.๖๕)

การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.

การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง

อรรถกถากินททสูตร